ข้อสอบออนไลน์ชุดใหม่ล่าสุด

Monday, January 8, 2018

หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขัน ครูผู้ช่วย ปี 2561

(ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขัน
เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่งครูผู้ช่วย
ที่ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุม ก.ค.ศ.ในครั้งนี้

การสอบ มีหลักสูตร 3 ภาค คือ
   1) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) (200 คะแนน)
   2) สอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข) (150 คะแนน)
   3) การประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) (50 คะแนน)
   การสอบ ภาค ก ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสอบ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้าย ของหลักสูตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่น ที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง โดยคุณวุฒิที่นำมาใช้สมัครสอบต้องได้รับรองจาก ก.ค.ศ.
2) ให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้กำหนดวัน เวลา และวิธีการในการสอบ
3) ให้ ก.ค.ศ. หรือหน่วยงานที่ ก.ค.ศ. เห็นสมควรเป็นผู้ดำเนินการสอบ โดยให้ ก.ค.ศ. ตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการสอบได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
4) รับสมัครไม่น้อยกว่า 15 วัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยให้ยื่นสมัครทางอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบที่กำหนด พร้อมด้วยค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ ในอัตราครั้งละ 100 บาท กรณีจัดให้มีการสมัครและสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้สมัครสอบเสียค่าธรรมเนียมฯ ในอัตราครั้งละ 300 บาท
5) เกณฑ์การตัดสิน ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านภาค ก เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนวิชาความสามารถทั่วไปและวิชาภาษาไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และออกหนังสือรับรองผลการสอบผ่าน ภาค ก ให้แก่ผู้สอบผ่าน เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการสอบแข่งขัน
ภาค ข และเพื่อประเมินภาค ค
6) ผู้ได้รับหนังสือรับรองผลการสอบ ภาค ก ของ ก.พ. สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการสมัครสอบแข่งขันภาค ข และเพื่อประเมินภาค ค ได้ โดยผู้ได้รับหนังสือรับรองฉบับดังกล่าว ต้องเสนอให้สำนักงาน ก.ค.ศ. รับรอง ก่อนนำไปสอบแข่งขัน พร้อมชำระค่าธรรมเนียมในอัตรา 100 บาท
   การสอบแข่งขัน ภาค ข และการประเมินภาค ค ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) ให้ส่วนราชการ และ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน ภาค ข และประเมินภาค ค
2) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ        - ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามมาตรฐานตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด
        - ต้องมีหนังสือรับรองผลการสอบผ่านภาค ก ของ ก.ค.ศ. หรือของ ก.พ. ที่ ก.ค.ศ. รับรองแล้ว
3) ให้ส่วนราชการกำหนดวัน เวลาและวิธีการในการสอบ และออกข้อสอบภาค ข กำหนด กำหนดวิธีการสอบ ตรวจคำตอบและประมวลผล และกำหนดองค์ประกอบการประเมิน ตัวชี้วัด และสัดส่วนคะแนนการประเมินภาค ค
4) ให้ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง ดำเนินการ ดังนี้
        - กำหนดจำนวนตำแหน่งว่าง ตามกลุ่มวิชา หรือทางหรือสาขาวิชาเอก ที่จะใช้สอบภาค ข ตามความต้องการของสถานศึกษา และแจ้งส่วนราชการ
        - ดำเนินการสอบแข่งขัน ภาค ข ตามวิธีที่ส่วนราชการกำหนด และประเมินภาค ค โดยวิธีการสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม
        - ตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการสอบแข่งขันได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
        - รับสมัครไม่น้อยกว่า 7 วัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้ยื่นใบสมัครตามแบบหรือวิธีการที่กำหนด พร้อมค่าธรรมเนียมการสอบ ในอัตราครั้งละ 100 บาท
        - กรณีมีการดำเนินการสอบแข่งขัน ภาค ข และประเมินภาค ค พร้อมกัน ให้ผู้สมัครสอบ เลือกสมัครสอบได้เพียงแห่งเดียว หากปรากฏว่าผู้สมัครสอบสมัครเกินกว่าหนึ่งแห่ง จะตัดสิทธิการสอบแข่งขันทั้งหมด
        - ตั้งคณะกรรมการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ภาค ค ตามองค์ประกอบฯ ที่กำหนด จำนวนชุดละ 5 คน
         - เกณฑ์การตัดสิน ต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยเรียงลำดับที่จากผู้ที่ได้คะแนนรวมภาค ข และภาค ค จากมากไปหาน้อย
        - บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศขึ้นบัญชี
ทั้งนี้ สำหรับการสอบภาค ก เห็นควรมอบ สทศ. เป็นผู้ดำเนินการสอบ และในปี พ.ศ.2561 จะเลื่อนการสอบแข่งขันออกไปก่อน คาดว่าน่าจะเริ่มรับสมัครสอบได้ในราวเดือนสิงหาคม 2561 เพื่อให้สามารถบรรจุครูผู้ช่วยได้ในเดือนตุลาคม 2561



Monday, March 2, 2015

เกณฑ์สอบ/ประกาศ/เรื่องใหม่ ที่เกี่ยวข้อง กับ การสอบครูผู้ช่วย

เกณฑ์สอบ/ประกาศ/เรื่องใหม่ ที่เกี่ยวข้อง กับ การสอบครูผู้ช่วย

ตามลิงค์

เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย
http://www.otepc.go.th/index.php/notice-law-rule/circularnotice/1185-18-2557

ประกาศ
http://personnel.obec.go.th/personnel/





ภาค ก 1.1 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน

ภาค ก 1.1 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_4116.html


 


ภาค ก 1.2 นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ภาค ก 1.2 นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_1038.html

ภาค ก 1.3 วัฒนธรรมไทย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ภาค ก 1.3 วัฒนธรรมไทย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


ความหมายวัฒนธรรมไทย

คำว่า วัฒนธรรม มาจากคำว่า “Culture” ในภาษาอังกฤษ ซึ้งคำนนี้มีรากศัพท์มาจาก “Cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกและบำรุงให้เจริญงอกงาม คำว่า “วัฒนธรรม” ในภาษาไทย เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกัน คือ คำว่า “วัฒนะ” หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง และ คำว่า “ธรรม” หมายถึง การกระทำหรือข้อปฎิบัติ เมื่อรวมกันแล้ว วัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาาาไทยจึงหมายถึงข้อปฎิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม
พระราชบัญญัตวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ให้ความหมายว่าวัฒนธรรมและศึลธรรมอันดีงามของประชาชน
พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม ในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรมคือ วิถีทางแห่งชีวิตมนุษย์ ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียกกันได้ เอาอย่างกันได้
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้เพื่อนำเอาไปใช้ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ซึ้งจะรวมถึงช่วยแก้ปัญหาและช่วยสนองความต้องการของสังคม
ท่านสามารถหาความหมายของ “ประเพณีไทย” ได้ที่นี่
คัดลอกจาก บรรเทิง พาพิจิตร.ประเพณี วัฒนธรรมไทย และคติความเชื่อ.กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์,2532.
วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู
วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สองf(x) หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1]
คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2]
คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2]
ครอบครัวเป็นเสาหลักของสังคมไทยและชีวิตครอบครัวมักอยู่ใกล้ชิดกว่าวัฒนธรรมตะวันตก ครอบครัวไทยเป็นลำดับชั้นทางสังคมอย่างหนึ่ง และเด็กถูกสอนให้เคารพบิดามารดา สังคมคาดหวังให้สมาชิกครอบครัวดูแลผู้อาวุโสและบ้านพักคนชราและโรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้าย คนชรามักอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัวและหลานและเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัว[2]


ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย แบ่งได้เป็น ๒ ระดับ คือ ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์

  • ประเพณีหลวง คือ ประเพณีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้กระทำ
  • ประเพณีราษฎร์ คือ ประเพณีที่ราษฎร ชาวบ้านร้านตลาดจัดทำ
ศูนย์กลางของประเพณีหลวงคือ พระมหากษัตริย์ ส่วนประเพณีราษฎร์นั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่บ้านหรือวัด

ทั้งประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์ ต่างก็มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต การทำมาหากิน การนับถือศาสนา การละเล่น วรรณกรรม และศิลปกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น ประเพณีการเล่นเพลงฉ่อย โนรา และหมอลำ ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ฮีตสิบสอง พระราชพิธีสิบสองเดือน ตลอดจนการสร้างวัดวาอาราม และการเขียนภาพในโบสถ์วิหาร


 
 
 
 
 
ความสัมพันธ์ของประเพณีทั้งสองระดับนั้น มีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดมา คือ ได้มีการหยิบยืม และเลียนแบบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ประเพณีหลวงได้แบบอย่างของประเพณีราษฎร์มาขัดเกลาให้ละเอียดประณีตวิจิตร และมีความขลังศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น เพราะประเพณีหลวงรับแบบแผนมาจาก อินเดีย จีน เปอร์เซีย รวมทั้งมอญ เขมร และชวา เข้ามาผสมผสานด้วย ทำให้มีความสมบรูณ์มากขึ้น แล้วค่อยขยายอิทธิพลไปสู่ประเพณีราษฎร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์นี้
 


 
 
 
 
 แต่เดิมมีประเพณีไทยพื้นบ้านเป็นพื้นฐานโดยทั่วไปอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อตั้งขึ้นเป็นเมือง ก็จะรับอิทธิพลทั้งประเพณีพื้นบ้าน และประเพณีหลวง จนกลายเป็นประเพณีพื้นเมือง ที่มีลักษณะพิเศษขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่พร้อมจะส่งอิทธิพลไปสู่ประเพณีพื้นบ้านต่อไป ดังนั้น การที่จะทำความเข้าใจประเพณีหลวง โดยละเลยการทำความเข้าใจประเพณีราษฎร์ หรือในทางกลับกัน จะศึกษาประเพณีราษฎร์ โดยไม่มีพื้นฐานความเข้าใจพัฒนาการของประเพณีหลวง ย่อมอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะจะไม่สามารถทำความเข้าใจภาพรวม ของพัฒนาการ ของวัฒนธรรมไทยได้เลย เนื่องจากโดยสภาพแวดล้อม ทั้งทางภูมิศาสตร์ สังคม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ววัฒนธรรมไทยมีลักษณะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ มีความพร้อมอยู่เสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีความแปลกและใหม่กว่า ประเพณีหลวงจึงมักมีอิทธิพลเหนือประเพณีราษฎร์อย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไทยมักจะเริ่มที่ประเพณีหลวงก่อนเสมอ หรืออีกนัยหนึ่งเริ่มจากชนชั้นผู้นำก่อน แล้วจึงส่งผลมายังระดับประเพณีราษฎร์ของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ เป็นเงาตามตัว จนทำให้ประเพณีราษฎร์ในบางท้องถิ่น สลายตัวไปในปัจจุบัน

ดังนั้น การศึกษาพัฒนาการของวัฒนธรรมไทย จึงควรศีกษา ทั้งประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์ เพื่อจะได้มองเห็นภาพรวมของวัฒนธรรมไทยได้ชัดเจนขึ้น เพราะวัฒนธรรมไทยมีลักษณะค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมอยู่เสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีความแปลกและใหม่กว่า เมื่อใดที่ประเพณีหลวงมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นประเพณีราษฎร์ก็มักจะได้รับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยเสมอ ยิ่งในสมัยปัจจุบันการคมนาคมเจริญมากขึ้น สื่อมวลชน และการนิยมวัฒนธรรมสมัยใหม่ แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ความเปลี่ยนต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
ที่มา สารานุกรม สำหรับเยาวชน เล่มที่ 18
 
 
 
ความหมายของประเพณีไทย

 


ความหมายของประเพณีไทย
ประเพณีไทย มีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาแต่ใน อดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการ กระทำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน

ประเพณีเกิดจากความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น ประเพณี คือ ความประพฤติของคนส่วนรวมที่ถือกันเป็นธรรมเนียม หรือ เป็นระเบียบแบบแผน และสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน และยังคงอยู่ได้ก็เพราะมีสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริม สร้างสิ่งเก่าอยู่เสมอ และกลมกลืนเข้ากันได้ดี

ประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่เห็นว่าดีกว่า ถูกต้องกว่า หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ใน สังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา

ประเพณี คือ ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เป็นนิสัยสังคม ซึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตน หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคม ของคนไทยซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของไทย ประเพณี เป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานาน ถ้าใครประพฤตินอก แบบ ถือเป็นการผิดประเพณี เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น แต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้าง ชัดเจน กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดก คนรุ่นหลังจะต้องรับไว้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่น ๆ ด้วย


ประเพณี พจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ ว่าขนบธรรมเนียมแบบแผน


 
 
 
 
ขนบ คือ ระเบียบแบบอย่าง
ธรรมเนียม คือ ที่นิยมใช้กันมา
 

รวมความแล้ว ประเพณีก็คือ “สิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เป็นที่ยอมรับและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันหาก เป็นอยู่ชั่วขณะแม้จะนิยมประพฤติกันทั่วไปก็ไม่ใช่ประเพณีเป็นแต่แฟชั่น (Fashion) ซึ่งเป็นความนิยมกันสมัยหนึ่งเท่านั้น พอหมดความนิยมก็เลิกประพฤติปฏิบัติกัน”


ประเพณีไทยไม่ได้มีอยู่โดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่คนหรือสังคมโดยส่วนรวมสร้างให้มีขึ้นแล้วถ่ายทอดให้แก่กัน พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงกำเนิดของประเพณีไทยว่า “เกิดจากความประพฤติหรือ การกระทำของใครคนหนึ่งหรือหลายคน ซึ่งเป็นประโยชน์และความจำเป็นตามที่ต้องการจากการกระทำเช่นนั้น คนอื่นเห็นดีก็ทำตามเป็นแบบอย่างเดียวกัน และสืบต่อเป็นส่วนรวมมาช้านานจนกลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น”

ประเพณีไทยที่ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติกันในสังคมนั้น สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

๑. จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores)
หมายถึงสิ่งที่สังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความถูก ผิด มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม ผิดประเพณีของสังคม จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรมของแต่ละสังคมย่อมไม่เหมือนกันสังคมไทยเห็นว่า การมีความสำพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นการผิดจารีตประเพณี แต่ชาวสวีเดนเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นจารีตประเพณีเป็นเรื่องของแต่ละสังคม จะใช้ค่านิยมของสังคมใดสังคมหนึ่งไปตัดสินสังคมอื่นไม่ได้

๒. ขนบธรรมเนียมหรือสถาบัน (Institution)
เป็นระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบมา คือรู้กันเองไม่ได้วางเป็น ระเบียบแบบแผนไว้ว่าควรปฏิบัติกันอย่างไร มักใช้คำว่าสถานแทนขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งคนในสังคมมีความพอใจ เป็นเรื่องที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา มีข้อกำหนดบังคับเอาไว้ เช่นสถาบันการศึกษา มีครู ผู้เรียน เจ้าหน้าที่ มีระเบียบการรับสมัครเข้าเรียน การสอบไล่ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิดการบวช การแต่งงาน การตาย มีกฎเกณฑ์ของประเพณีวางไว้ แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อจำเป็น

๓. ธรรมเนียมประเพณีหรือประเพณีนิยม (Convention)
เป็นแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ปฏิบัติกันมาจนเคยชิน แต่ต้องไม่ ขัดแย้งกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่อาจถูกตำหนิไว้ว่าไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การดื่มน้ำจากแก้ว

ประเภทของประเพณีไทยที่สำคัญบางอย่าง

ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยมีตลอดทั้งปี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงที่สำคัญหรือที่นิยมกันในปัจจุบันบางประเพณีเท่านั้น แบ่งได้กว้างๆ เป็น 3ประเภท คือ
 
๑. ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น เรื่องทำขวัญเดือน โกนจุก ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บวช แต่งงาน ตาย เป็นต้น

๒. ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับส่วนรวม เนื่อง ด้วยเทศกาล คือ คราวสมัยที่กำหนดขึ้นเป็นประเพณี เพื่อทำบุญและรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท ออกพรรษา ลอยกระทง ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่จัดขึ้นในแต่ละจังหวัดในฤดูกาลต่างๆ

๓. รัฐพิธีและพระราชพิธี เนื่อง จากประเพณีไทยต่างๆ มีรายละเอียดมากจึงขอย่อสรุปเฉพาะประเพณีสำคัญ ที่เป็นประเพณีครอบครัวและประเพณีส่วนรวม ประเพณีไทย ๔ ภาค และจะนำมานำเสนอในโอกาสต่อไป
 
 

แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย:วัฒนธรรมไทย และประเพณีท้องถิ่น



แนวข้อสอบครูผู้ช่วย (ความรอบรู้ ชุดที่ 4)
วัฒนธรรมไทย และประเพณีท้องถิ่น
1. สิ่งที่ดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกว่า
ก. คุณธรรม
ข. จริยธรรม
ค. วัฒนธรรม
ง. ค่านิยม


2. ข้อใดคือวัฒนธรรมไทย
ก. การเคารพพระสงฆ์
ข. สงกรานต์
ค. ฮีตสิบสอง
ง. การไหลเรื่อไฟ


3. การกราบครั้งที่สองของการกราบแบบเบญจางค์
ประดิษฐ์ หมายถึงกราบใคร
ก. กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
ข. กราบพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า
ค. กราบพระสงฆ์ตัวแทนพระพุทธเจ้า
ง. กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


4. ข้อใดเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ก. เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านให้ไหว้โดยให้ปลาย
นิ้วมือจรดตีนผม
ข. ผู้ชายให้ถวายของให้พระต่อมือพระสงฆ์
โดยตรงและคุกเข่ากราบไม่แบมือครั้งเดียว
ค. การตักบาตรควรถอดรองเท้าก่อน
ง. ผู้หญิงไปหาพระต้องนั่งพับเพียบให้เรียบ
ร้อย ไม่ควรอยู่ตามลำพังกับพระสงฆ์


5. เป็นครูควรมีมารยาททางใจ โดยนำหลักธรรม
พรหมวิหาร 4 มายึดและปฏิบัติ
ก. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ค. ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค์
ง. สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ


6. ข้อใดคือมารยาททางใจที่ถูกต้อง
ก. ในงานมงคลควรแสดงสีหน้าเบิกบาน
สดชื่นอยู่เสมอ
ข. การไปเยี่ยมคนป่วยควรใช้คำพูดที่อ่อน
โยนปลอบใจผู้ป่วย
ค. ในงานเผาศพควรแสดงกริยาสงบสงวน
ความรื่นเริงเอาไว้
ง. ถูกทุกข้อ


7. ข้อใดเป็นมารยาททางกายที่ไม่เหมาะสม
ก. ถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่กับพื้นให้นั่งพับ
เพียบ หันหน้าไปหาผู้ใหญ่ในลักษณะ
เงยหน้า
ข. ไม่ถือวิสาสะใช้หรือรับประทานของ
ที่เขาจัดไว้สำหรับผู้อื่นโดยเฉพาะ
ค. ล้วง แคะ แกะเกา หาว เรอหากจำเป็น
ง. เห็นของผู้ใหญ่ตก หรืออาจจะเสียหาย
โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ควรจะบอก


8. การับไหวในขณะที่ยืนและเราอยู่ในฐานะที่
อาวุโสกว่า
ก. พนมมือระดับอก
ข. พนมมือเหนือระดับอก นิ้วจรดคาง
ค. พนมมือระดับอก ก้มศรีษะเล็กน้อย
ง. พนมมือระดับอกและพยักหน้าเล็กน้อย


9. หากเราจะผ่านผู้คนมากๆและมีผู้ที่อาวุโสนั่งอยู่
กับพื้นควรใช้วิธีการใด
ก. เดินก้มหน้า
ข. เดินย่อตัว
ค. หมอบ
ง. คลาน


10. เมื่อใดควรยืนตรง
ก. เมื่อเห็นคนเชิญธงชาติผ่านหน้า
ข. เมื่อเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
มาถึงบริเวณพิธี
ค. เมื่อได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
ง. ถูกทุกข้อ


11. ข้อใดคือมารยาทแบบสากลทางกายแสดงการ
ทักทาย
ก. การยิ้ม
ข. การไหว้
ค. การคำนับ
ง. การจับมือ


12. ข้อใดคือมารยาทในการรับประทานอาหารที่
ไม่ถูกต้อง
ก. ให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อนเราจึงรับ
ประทาน
ข. ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหาร และนั่งตัวตรง
ค. แตะต้องหรือหยิบอาหารให้ผู้อาวุโสกว่า
ตามสมควร
ง. ควรถือช้อนด้วยมือขวาและส้อมด้วยมือซ้าย


13. มารยาทในการใช้วาจาที่ถูกต้องได้แก่ข้อใด
ก. ต้องระวังมิใช้วาจาเท็จ ยุยงส่อเสียดให้ผู้อื่น
แตกร้าว
ข. ไม่พูดเสียงดังเกินไปหรือพูดพลางหัวเราะ
พลาง
ค. รู้จักพูดให้ผู้ฟังพอใจและเป็นนักฟังที่สนใจ
ง. ถูกทุกข้อ


14. “ฮีตสิบสอง” จัดไว้ในข้อใด
ก. วัฒนธรรมไทย
ข. ประเพณี
ค. ความเชื่อ
ง. ค่านิยม


15. เทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณี
ท้องถิ่นของจังหวัดใด
ก. กาฬสินธุ์
ข. มหาสารคาม
ค. ขอนแก่น
ง. อุดรธานี


16. ประเพณีไหลเรื่อไฟของจังหวัดนครพนม เป็น
ประเพณีที่เกิดจากความเชื่อของประเทศใด
ก. จีน
ข. อินเดีย
ค. เนปาล
ง. อียีป


17. ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งของจังหวัดบุรีรัมย์
จัดในเดือนใด
ก. ธันวาคม
ข. มกราคม
ค. เมษายน
ง. กรกฏาคม


18. ประเพณีบวชลูกแก้วนิยมจัดในภาคใด
ก. ภาคเหนือ
ข. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. ภาคกลาง
ง. ภาคใต้


19. ประเพณีท้องถิ่นที่นิยมจัดทุกภาคของไทย
ก. บวชนาค
ข. สงกรานต์
ค. ลอยกระทง
ง. ถูกทุกข้อ


20. หากจะรักษาประเพณีไทยโดยการทำบุญ ควร
ปฏิบัติตามข้อใด
ก. การให้ทาน
ข. การรักษาศีล
ค. ภาวนา
ง. ถูกทุกข้อ


21.ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีแต่งงาน
ก. ขึ้นหอ
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมาก
ง. หมั้น


22.” ไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร” สัมพันธ์
กับประเพณีใด
ก. แต่งงาน
ข. บวช
ค. ลอยกระทง
ง. สงกรานต์


23. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญมักพบอยู่ทุกจังหวัดทั้ง
ภาคเหนือและอีสาน คำว่า “บายศรี”หมายถึงสิ่งใด
ก. ดอกไม้
ข. พาน
ค. ข้าว
ง. ด้ายขาว


24. ความเชื่อตามประเพณีบุญป้องไฟสัมพันธ์กับ
อาชีพใด
ก. ค้าขาย
ข. ทำนา
ค. อุตสาหกรรม
ง. ทุกอาชีพที่กล่าว


25. ประเพณีผีตาโขนเป็นของจังหวัดใด
ก. ลำปาง
ข. พะเยา
ค. อุบลราชธานี
ง. เลย


26. “วันเนา” ของประเพณีสงกรานต์ตรงกับวันใด
ก. 12 เมษายน
ข. 13 เมษายน
ค. 14 เมษายน
ง. 15 เมษายน


27.เหล้า ต้นกล้วย ต้นอ้อย จัดอยู่ในส่วนใดของ
ประเพณีแต่งงาน
ก. ค่าดอง
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมากเอก
ง. ขันหมากโท


28. ประเพณีชักพระหรือลากพระมักนิยมจัดใน
ภูมิภาคใด
ก. ภาคเหนือ
ข. ตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. ภาคกลาง
ง. ภาคใต้


29. ประเพณีอุ้มน้ำดำพระเป็นของจังหวัดใด
ก. ตาก
ข. เพชรบูรณ์
ค. ปัตตานี
ง. นครศรีธรรมราช


30. ประเพณีท้องถิ่นต่อไปนี้ข้อใดต่างจากกลุ่ม
ก. สู่ข้าวขวัญ
ข. ก่อพระเจดีย์ทราย
ค. ทอดกฐิน
ง. บุญเบิกฟ้า


เฉลย 

 1.ค 2. ก 3.ข 4. ข 5.ก 6.ง. 7. ค 8.ก 9. ข 10.ง
11.ง 12.ค 13.ง 14.ข 15.ค 16.ข 17.ค 18.ก 19.ง 20.ง
21.ก 22.ก 23.ค 24.ข 25.ง 26.ค 27.ง 28.ง 29.ข 30.ง

ภาค ก 1.4.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ภาค ก 1.4.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_4901.html


ภาค ก 1.4.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ภาค ก 1.4.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_8918.html