ข้อสอบออนไลน์ชุดใหม่ล่าสุด

Monday, March 2, 2015

เกณฑ์สอบ/ประกาศ/เรื่องใหม่ ที่เกี่ยวข้อง กับ การสอบครูผู้ช่วย

เกณฑ์สอบ/ประกาศ/เรื่องใหม่ ที่เกี่ยวข้อง กับ การสอบครูผู้ช่วย

ตามลิงค์

เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย
http://www.otepc.go.th/index.php/notice-law-rule/circularnotice/1185-18-2557

ประกาศ
http://personnel.obec.go.th/personnel/





ภาค ก 1.1 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน

ภาค ก 1.1 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_4116.html


 


ภาค ก 1.2 นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ภาค ก 1.2 นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_1038.html

ภาค ก 1.3 วัฒนธรรมไทย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ภาค ก 1.3 วัฒนธรรมไทย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


ความหมายวัฒนธรรมไทย

คำว่า วัฒนธรรม มาจากคำว่า “Culture” ในภาษาอังกฤษ ซึ้งคำนนี้มีรากศัพท์มาจาก “Cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกและบำรุงให้เจริญงอกงาม คำว่า “วัฒนธรรม” ในภาษาไทย เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกัน คือ คำว่า “วัฒนะ” หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง และ คำว่า “ธรรม” หมายถึง การกระทำหรือข้อปฎิบัติ เมื่อรวมกันแล้ว วัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาาาไทยจึงหมายถึงข้อปฎิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม
พระราชบัญญัตวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ให้ความหมายว่าวัฒนธรรมและศึลธรรมอันดีงามของประชาชน
พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม ในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรมคือ วิถีทางแห่งชีวิตมนุษย์ ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียกกันได้ เอาอย่างกันได้
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้เพื่อนำเอาไปใช้ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ซึ้งจะรวมถึงช่วยแก้ปัญหาและช่วยสนองความต้องการของสังคม
ท่านสามารถหาความหมายของ “ประเพณีไทย” ได้ที่นี่
คัดลอกจาก บรรเทิง พาพิจิตร.ประเพณี วัฒนธรรมไทย และคติความเชื่อ.กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์,2532.
วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู
วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สองf(x) หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1]
คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2]
คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2]
ครอบครัวเป็นเสาหลักของสังคมไทยและชีวิตครอบครัวมักอยู่ใกล้ชิดกว่าวัฒนธรรมตะวันตก ครอบครัวไทยเป็นลำดับชั้นทางสังคมอย่างหนึ่ง และเด็กถูกสอนให้เคารพบิดามารดา สังคมคาดหวังให้สมาชิกครอบครัวดูแลผู้อาวุโสและบ้านพักคนชราและโรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้าย คนชรามักอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัวและหลานและเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัว[2]


ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย แบ่งได้เป็น ๒ ระดับ คือ ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์

  • ประเพณีหลวง คือ ประเพณีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้กระทำ
  • ประเพณีราษฎร์ คือ ประเพณีที่ราษฎร ชาวบ้านร้านตลาดจัดทำ
ศูนย์กลางของประเพณีหลวงคือ พระมหากษัตริย์ ส่วนประเพณีราษฎร์นั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่บ้านหรือวัด

ทั้งประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์ ต่างก็มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต การทำมาหากิน การนับถือศาสนา การละเล่น วรรณกรรม และศิลปกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น ประเพณีการเล่นเพลงฉ่อย โนรา และหมอลำ ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ฮีตสิบสอง พระราชพิธีสิบสองเดือน ตลอดจนการสร้างวัดวาอาราม และการเขียนภาพในโบสถ์วิหาร


 
 
 
 
 
ความสัมพันธ์ของประเพณีทั้งสองระดับนั้น มีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดมา คือ ได้มีการหยิบยืม และเลียนแบบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ประเพณีหลวงได้แบบอย่างของประเพณีราษฎร์มาขัดเกลาให้ละเอียดประณีตวิจิตร และมีความขลังศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น เพราะประเพณีหลวงรับแบบแผนมาจาก อินเดีย จีน เปอร์เซีย รวมทั้งมอญ เขมร และชวา เข้ามาผสมผสานด้วย ทำให้มีความสมบรูณ์มากขึ้น แล้วค่อยขยายอิทธิพลไปสู่ประเพณีราษฎร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์นี้
 


 
 
 
 
 แต่เดิมมีประเพณีไทยพื้นบ้านเป็นพื้นฐานโดยทั่วไปอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อตั้งขึ้นเป็นเมือง ก็จะรับอิทธิพลทั้งประเพณีพื้นบ้าน และประเพณีหลวง จนกลายเป็นประเพณีพื้นเมือง ที่มีลักษณะพิเศษขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่พร้อมจะส่งอิทธิพลไปสู่ประเพณีพื้นบ้านต่อไป ดังนั้น การที่จะทำความเข้าใจประเพณีหลวง โดยละเลยการทำความเข้าใจประเพณีราษฎร์ หรือในทางกลับกัน จะศึกษาประเพณีราษฎร์ โดยไม่มีพื้นฐานความเข้าใจพัฒนาการของประเพณีหลวง ย่อมอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะจะไม่สามารถทำความเข้าใจภาพรวม ของพัฒนาการ ของวัฒนธรรมไทยได้เลย เนื่องจากโดยสภาพแวดล้อม ทั้งทางภูมิศาสตร์ สังคม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ววัฒนธรรมไทยมีลักษณะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ มีความพร้อมอยู่เสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีความแปลกและใหม่กว่า ประเพณีหลวงจึงมักมีอิทธิพลเหนือประเพณีราษฎร์อย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไทยมักจะเริ่มที่ประเพณีหลวงก่อนเสมอ หรืออีกนัยหนึ่งเริ่มจากชนชั้นผู้นำก่อน แล้วจึงส่งผลมายังระดับประเพณีราษฎร์ของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ เป็นเงาตามตัว จนทำให้ประเพณีราษฎร์ในบางท้องถิ่น สลายตัวไปในปัจจุบัน

ดังนั้น การศึกษาพัฒนาการของวัฒนธรรมไทย จึงควรศีกษา ทั้งประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์ เพื่อจะได้มองเห็นภาพรวมของวัฒนธรรมไทยได้ชัดเจนขึ้น เพราะวัฒนธรรมไทยมีลักษณะค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมอยู่เสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีความแปลกและใหม่กว่า เมื่อใดที่ประเพณีหลวงมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นประเพณีราษฎร์ก็มักจะได้รับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยเสมอ ยิ่งในสมัยปัจจุบันการคมนาคมเจริญมากขึ้น สื่อมวลชน และการนิยมวัฒนธรรมสมัยใหม่ แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ความเปลี่ยนต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
ที่มา สารานุกรม สำหรับเยาวชน เล่มที่ 18
 
 
 
ความหมายของประเพณีไทย

 


ความหมายของประเพณีไทย
ประเพณีไทย มีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาแต่ใน อดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการ กระทำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน

ประเพณีเกิดจากความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น ประเพณี คือ ความประพฤติของคนส่วนรวมที่ถือกันเป็นธรรมเนียม หรือ เป็นระเบียบแบบแผน และสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน และยังคงอยู่ได้ก็เพราะมีสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริม สร้างสิ่งเก่าอยู่เสมอ และกลมกลืนเข้ากันได้ดี

ประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่เห็นว่าดีกว่า ถูกต้องกว่า หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ใน สังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา

ประเพณี คือ ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เป็นนิสัยสังคม ซึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตน หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคม ของคนไทยซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของไทย ประเพณี เป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานาน ถ้าใครประพฤตินอก แบบ ถือเป็นการผิดประเพณี เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น แต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้าง ชัดเจน กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดก คนรุ่นหลังจะต้องรับไว้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่น ๆ ด้วย


ประเพณี พจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ ว่าขนบธรรมเนียมแบบแผน


 
 
 
 
ขนบ คือ ระเบียบแบบอย่าง
ธรรมเนียม คือ ที่นิยมใช้กันมา
 

รวมความแล้ว ประเพณีก็คือ “สิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เป็นที่ยอมรับและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันหาก เป็นอยู่ชั่วขณะแม้จะนิยมประพฤติกันทั่วไปก็ไม่ใช่ประเพณีเป็นแต่แฟชั่น (Fashion) ซึ่งเป็นความนิยมกันสมัยหนึ่งเท่านั้น พอหมดความนิยมก็เลิกประพฤติปฏิบัติกัน”


ประเพณีไทยไม่ได้มีอยู่โดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่คนหรือสังคมโดยส่วนรวมสร้างให้มีขึ้นแล้วถ่ายทอดให้แก่กัน พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงกำเนิดของประเพณีไทยว่า “เกิดจากความประพฤติหรือ การกระทำของใครคนหนึ่งหรือหลายคน ซึ่งเป็นประโยชน์และความจำเป็นตามที่ต้องการจากการกระทำเช่นนั้น คนอื่นเห็นดีก็ทำตามเป็นแบบอย่างเดียวกัน และสืบต่อเป็นส่วนรวมมาช้านานจนกลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น”

ประเพณีไทยที่ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติกันในสังคมนั้น สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

๑. จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores)
หมายถึงสิ่งที่สังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความถูก ผิด มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม ผิดประเพณีของสังคม จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรมของแต่ละสังคมย่อมไม่เหมือนกันสังคมไทยเห็นว่า การมีความสำพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นการผิดจารีตประเพณี แต่ชาวสวีเดนเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นจารีตประเพณีเป็นเรื่องของแต่ละสังคม จะใช้ค่านิยมของสังคมใดสังคมหนึ่งไปตัดสินสังคมอื่นไม่ได้

๒. ขนบธรรมเนียมหรือสถาบัน (Institution)
เป็นระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบมา คือรู้กันเองไม่ได้วางเป็น ระเบียบแบบแผนไว้ว่าควรปฏิบัติกันอย่างไร มักใช้คำว่าสถานแทนขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งคนในสังคมมีความพอใจ เป็นเรื่องที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา มีข้อกำหนดบังคับเอาไว้ เช่นสถาบันการศึกษา มีครู ผู้เรียน เจ้าหน้าที่ มีระเบียบการรับสมัครเข้าเรียน การสอบไล่ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิดการบวช การแต่งงาน การตาย มีกฎเกณฑ์ของประเพณีวางไว้ แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อจำเป็น

๓. ธรรมเนียมประเพณีหรือประเพณีนิยม (Convention)
เป็นแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ปฏิบัติกันมาจนเคยชิน แต่ต้องไม่ ขัดแย้งกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่อาจถูกตำหนิไว้ว่าไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การดื่มน้ำจากแก้ว

ประเภทของประเพณีไทยที่สำคัญบางอย่าง

ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยมีตลอดทั้งปี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงที่สำคัญหรือที่นิยมกันในปัจจุบันบางประเพณีเท่านั้น แบ่งได้กว้างๆ เป็น 3ประเภท คือ
 
๑. ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น เรื่องทำขวัญเดือน โกนจุก ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บวช แต่งงาน ตาย เป็นต้น

๒. ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับส่วนรวม เนื่อง ด้วยเทศกาล คือ คราวสมัยที่กำหนดขึ้นเป็นประเพณี เพื่อทำบุญและรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท ออกพรรษา ลอยกระทง ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่จัดขึ้นในแต่ละจังหวัดในฤดูกาลต่างๆ

๓. รัฐพิธีและพระราชพิธี เนื่อง จากประเพณีไทยต่างๆ มีรายละเอียดมากจึงขอย่อสรุปเฉพาะประเพณีสำคัญ ที่เป็นประเพณีครอบครัวและประเพณีส่วนรวม ประเพณีไทย ๔ ภาค และจะนำมานำเสนอในโอกาสต่อไป
 
 

แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย:วัฒนธรรมไทย และประเพณีท้องถิ่น



แนวข้อสอบครูผู้ช่วย (ความรอบรู้ ชุดที่ 4)
วัฒนธรรมไทย และประเพณีท้องถิ่น
1. สิ่งที่ดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกว่า
ก. คุณธรรม
ข. จริยธรรม
ค. วัฒนธรรม
ง. ค่านิยม


2. ข้อใดคือวัฒนธรรมไทย
ก. การเคารพพระสงฆ์
ข. สงกรานต์
ค. ฮีตสิบสอง
ง. การไหลเรื่อไฟ


3. การกราบครั้งที่สองของการกราบแบบเบญจางค์
ประดิษฐ์ หมายถึงกราบใคร
ก. กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
ข. กราบพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า
ค. กราบพระสงฆ์ตัวแทนพระพุทธเจ้า
ง. กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


4. ข้อใดเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ก. เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านให้ไหว้โดยให้ปลาย
นิ้วมือจรดตีนผม
ข. ผู้ชายให้ถวายของให้พระต่อมือพระสงฆ์
โดยตรงและคุกเข่ากราบไม่แบมือครั้งเดียว
ค. การตักบาตรควรถอดรองเท้าก่อน
ง. ผู้หญิงไปหาพระต้องนั่งพับเพียบให้เรียบ
ร้อย ไม่ควรอยู่ตามลำพังกับพระสงฆ์


5. เป็นครูควรมีมารยาททางใจ โดยนำหลักธรรม
พรหมวิหาร 4 มายึดและปฏิบัติ
ก. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ค. ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค์
ง. สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ


6. ข้อใดคือมารยาททางใจที่ถูกต้อง
ก. ในงานมงคลควรแสดงสีหน้าเบิกบาน
สดชื่นอยู่เสมอ
ข. การไปเยี่ยมคนป่วยควรใช้คำพูดที่อ่อน
โยนปลอบใจผู้ป่วย
ค. ในงานเผาศพควรแสดงกริยาสงบสงวน
ความรื่นเริงเอาไว้
ง. ถูกทุกข้อ


7. ข้อใดเป็นมารยาททางกายที่ไม่เหมาะสม
ก. ถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่กับพื้นให้นั่งพับ
เพียบ หันหน้าไปหาผู้ใหญ่ในลักษณะ
เงยหน้า
ข. ไม่ถือวิสาสะใช้หรือรับประทานของ
ที่เขาจัดไว้สำหรับผู้อื่นโดยเฉพาะ
ค. ล้วง แคะ แกะเกา หาว เรอหากจำเป็น
ง. เห็นของผู้ใหญ่ตก หรืออาจจะเสียหาย
โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ควรจะบอก


8. การับไหวในขณะที่ยืนและเราอยู่ในฐานะที่
อาวุโสกว่า
ก. พนมมือระดับอก
ข. พนมมือเหนือระดับอก นิ้วจรดคาง
ค. พนมมือระดับอก ก้มศรีษะเล็กน้อย
ง. พนมมือระดับอกและพยักหน้าเล็กน้อย


9. หากเราจะผ่านผู้คนมากๆและมีผู้ที่อาวุโสนั่งอยู่
กับพื้นควรใช้วิธีการใด
ก. เดินก้มหน้า
ข. เดินย่อตัว
ค. หมอบ
ง. คลาน


10. เมื่อใดควรยืนตรง
ก. เมื่อเห็นคนเชิญธงชาติผ่านหน้า
ข. เมื่อเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
มาถึงบริเวณพิธี
ค. เมื่อได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
ง. ถูกทุกข้อ


11. ข้อใดคือมารยาทแบบสากลทางกายแสดงการ
ทักทาย
ก. การยิ้ม
ข. การไหว้
ค. การคำนับ
ง. การจับมือ


12. ข้อใดคือมารยาทในการรับประทานอาหารที่
ไม่ถูกต้อง
ก. ให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อนเราจึงรับ
ประทาน
ข. ไม่ท้าวศอกบนโต๊ะอาหาร และนั่งตัวตรง
ค. แตะต้องหรือหยิบอาหารให้ผู้อาวุโสกว่า
ตามสมควร
ง. ควรถือช้อนด้วยมือขวาและส้อมด้วยมือซ้าย


13. มารยาทในการใช้วาจาที่ถูกต้องได้แก่ข้อใด
ก. ต้องระวังมิใช้วาจาเท็จ ยุยงส่อเสียดให้ผู้อื่น
แตกร้าว
ข. ไม่พูดเสียงดังเกินไปหรือพูดพลางหัวเราะ
พลาง
ค. รู้จักพูดให้ผู้ฟังพอใจและเป็นนักฟังที่สนใจ
ง. ถูกทุกข้อ


14. “ฮีตสิบสอง” จัดไว้ในข้อใด
ก. วัฒนธรรมไทย
ข. ประเพณี
ค. ความเชื่อ
ง. ค่านิยม


15. เทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณี
ท้องถิ่นของจังหวัดใด
ก. กาฬสินธุ์
ข. มหาสารคาม
ค. ขอนแก่น
ง. อุดรธานี


16. ประเพณีไหลเรื่อไฟของจังหวัดนครพนม เป็น
ประเพณีที่เกิดจากความเชื่อของประเทศใด
ก. จีน
ข. อินเดีย
ค. เนปาล
ง. อียีป


17. ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งของจังหวัดบุรีรัมย์
จัดในเดือนใด
ก. ธันวาคม
ข. มกราคม
ค. เมษายน
ง. กรกฏาคม


18. ประเพณีบวชลูกแก้วนิยมจัดในภาคใด
ก. ภาคเหนือ
ข. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. ภาคกลาง
ง. ภาคใต้


19. ประเพณีท้องถิ่นที่นิยมจัดทุกภาคของไทย
ก. บวชนาค
ข. สงกรานต์
ค. ลอยกระทง
ง. ถูกทุกข้อ


20. หากจะรักษาประเพณีไทยโดยการทำบุญ ควร
ปฏิบัติตามข้อใด
ก. การให้ทาน
ข. การรักษาศีล
ค. ภาวนา
ง. ถูกทุกข้อ


21.ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีแต่งงาน
ก. ขึ้นหอ
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมาก
ง. หมั้น


22.” ไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร” สัมพันธ์
กับประเพณีใด
ก. แต่งงาน
ข. บวช
ค. ลอยกระทง
ง. สงกรานต์


23. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญมักพบอยู่ทุกจังหวัดทั้ง
ภาคเหนือและอีสาน คำว่า “บายศรี”หมายถึงสิ่งใด
ก. ดอกไม้
ข. พาน
ค. ข้าว
ง. ด้ายขาว


24. ความเชื่อตามประเพณีบุญป้องไฟสัมพันธ์กับ
อาชีพใด
ก. ค้าขาย
ข. ทำนา
ค. อุตสาหกรรม
ง. ทุกอาชีพที่กล่าว


25. ประเพณีผีตาโขนเป็นของจังหวัดใด
ก. ลำปาง
ข. พะเยา
ค. อุบลราชธานี
ง. เลย


26. “วันเนา” ของประเพณีสงกรานต์ตรงกับวันใด
ก. 12 เมษายน
ข. 13 เมษายน
ค. 14 เมษายน
ง. 15 เมษายน


27.เหล้า ต้นกล้วย ต้นอ้อย จัดอยู่ในส่วนใดของ
ประเพณีแต่งงาน
ก. ค่าดอง
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมากเอก
ง. ขันหมากโท


28. ประเพณีชักพระหรือลากพระมักนิยมจัดใน
ภูมิภาคใด
ก. ภาคเหนือ
ข. ตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. ภาคกลาง
ง. ภาคใต้


29. ประเพณีอุ้มน้ำดำพระเป็นของจังหวัดใด
ก. ตาก
ข. เพชรบูรณ์
ค. ปัตตานี
ง. นครศรีธรรมราช


30. ประเพณีท้องถิ่นต่อไปนี้ข้อใดต่างจากกลุ่ม
ก. สู่ข้าวขวัญ
ข. ก่อพระเจดีย์ทราย
ค. ทอดกฐิน
ง. บุญเบิกฟ้า


เฉลย 

 1.ค 2. ก 3.ข 4. ข 5.ก 6.ง. 7. ค 8.ก 9. ข 10.ง
11.ง 12.ค 13.ง 14.ข 15.ค 16.ข 17.ค 18.ก 19.ง 20.ง
21.ก 22.ก 23.ค 24.ข 25.ง 26.ค 27.ง 28.ง 29.ข 30.ง

ภาค ก 1.4.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ภาค ก 1.4.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_4901.html


ภาค ก 1.4.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ภาค ก 1.4.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_8918.html

ภาค ก 1.4.3 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ภาค ก 1.4.3 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_8488.html

ภาค ก 1.4.4 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ภาค ก 1.4.4 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_1.html

ภาค ก 1.4.5 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ภาค ก 1.4.5 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/04/blog-post_8027.html

ภาค ก 1.4.6 พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551

ภาค ก 1.4.6 พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ  พ.ศ.2551

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/04/blog-post_5716.html

ภาค ก 1.4.7 กฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

ภาค ก 1.4.7 กฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/04/blog-post_30.html

ภาค ก 1.5 ความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

ภาค ก 1.5 ความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

ตามลิงค์

http://tuewsobsupervisor.blogspot.com/2014/05/blog-post_5296.html

ภาค ก 2.1 ความสามารถด้านตัวเลข

ภาค ก 2.1 ความสามารถด้านตัวเลข

ตามลิงค์

http://www.tuewsob.com/gkrumath1.html

ภาค ก 2.2 ความสามารถด้านภาษาไทย

ภาค ก 2.2 ความสามารถด้านภาษาไทย

ตามลิงค์

http://www.tuewsob.com/ekru1.html

ภาค ก 2.3 ความสามารถด้านเหตุผล

ภาค ก 2.3 ความสามารถด้านเหตุผล

ตามลิงค์

http://www.tuewsob.com/gkruthai1.html


ภาค ก 3.1 วินัยและการรักษาวินัย

ภาค ก 3.1 วินัยและการรักษาวินัย

ridceo.rid.go.th/sakaeo/phong04/x%2010.html.ppt

                                                                  หมวด 6
                                   วินัยและการรักษาวินัย

           มาตรา 80 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่
บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
           ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติ                      ไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.. ด้วย

                  การกระทำผิดวินัย ก็เหมือนกับการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ  เช่นเดียวกัน                         
                  คือผู้กระทำผิดต้องมีเจตนา จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด  กรณีผู้กระทำ
                  กระทำโดยไม่มีเจตนา จะไม่มีความผิด เว้นแต่กระทำโดยประมาทเลินเล่อ
                   ผู้กระทำก็จะมีความผิดฐานประมาทเลินเล่อ

           มาตรา 81 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
            หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                             คำว่า สนับสนุน 
                             กรณีที่เข้าข่าย ไม่สนับสนุน   

           มาตรา 82  ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
           มาตรา82 (1)  ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
           หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                       คำว่า  หน้าที่ราชการ หมายถึงหน้าที่ราชการโดยตรงเท่านั้น
                       การพิจารณาว่าข้าราชการผู้ใด มีหน้าที่ราชการ ในเรื่องใดหรือไม่นั้น มีแนวพิจารณาดังนี้
                       1. พิจารณาจากกฎหมายหรือระเบียบ
                 
                       2. พิจารณาจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
                       3. พิจารณาจากคำสั่ง หรือการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

                       4. พิจารณาจากพฤตินัย

                     คำว่า ซื่อสัตย์ หมายความว่า ปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา  ไม่คดโกง
ไม่หลอกลวง

                       คำว่า  สุจริต  หมายความว่า ปฏิบัติด้วยความมุ่งหมายในทางที่ดีที่ชอบ                           ตามคลองธรรม

                       คำว่า เที่ยงธรรม  หมายความว่า ปฏิบัติโดยไม่ลำเอียง

          มาตรา 82 (2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ                 มติของคณะรัฐมนตรี  นโยบายของรัฐบาล  และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
           หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
            มาตรานี้มีฐานความผิดสองฐาน คือ
                      1. ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ                 มติของคณะรัฐมนตรี  หรือ นโยบายของรัฐบาล
                          ฐานความผิดนี้เป็นกรณีการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                      2. ฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ          
                           ฐานความผิดนี้  ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                        คำว่า กฎหมาย

                       คำว่า กฎ  

                       คำว่า ระเบียบของทางราชการ            

                       คำว่า นโยบายของทางราชการ  

                       คำว่า ระเบียบแบบแผนของทางราชการ                        
                มาตรา 82 (3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความ                 ตั้งใจ  อุตสาหะ  เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 มาตรา 82 (3)  นี้ ถือเอา ผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ที่เกิดขึ้นเป็นเกณฑ์สำคัญ มิได้ถือเอาความตั้งใจเป็นเกณฑ์สำคัญ  ดังนั้นความตั้งใจก็ดี  ความอุตสาหะก็ดี  ความเอาใจใส่ และการรักษาประโยชน์ของทางราชการก็ดี  เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้เกิดผลดีและความก้าวหน้าแก่ราชการเท่านั้น
                มาตรา 82 (4) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
­                 หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. ผู้บังคับบัญชา ต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
                 2. คำสั่งของผู้บังคับบัญชา เป็นการใช้อำนาจของรัฐ
                 3. คำสั่งของผู้บังคับบัญชาต้องเป็นเรื่องที่สั่งในหน้าที่ราชการคือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                 4. ต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
                 5. การขัดขืน หรือหลีกเลี่ยง  ผู้กระทำผิด ต้องมีเจตนาขัดขืน หรือหลีกเลี่ยงด้วย   

                มาตรา 82 (5) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
                                       คำว่า อุทิศ  หมายความว่า  สละให้ 
                                       คำว่า เวลาของตน  หมายความรวมถึงเวลานอกเหนือจากเวลาที่ต้องปฏิบัติราชการด้วย เช่น หลังเลิกงานแล้ว  หรือวันหยุดราชการ  ถ้าผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้มาปฏิบัติราชการ  เมื่อได้รับคำสั่งแล้วไม่มาโดยไม่มีเหตุผลจะมีความผิดฐานไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการและฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา
                                      คำว่า ละทิ้ง   หมายถึง ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ คือ ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการเลย หรือ มาลงชื่อแล้วไม่อยู่ปฏิบัติราชการ เช่นออกไปนอกสำนักงาน 
                                     คำว่า ทอดทิ้ง   หมายถึง ไม่เอาเป็นธุระ  ไม่เอาใจใส่ คือตัวอยู่ในสถานที่ทำงาน แต่ไม่ยอมทำงาน
                                     ข้อสังเกต  จะผิดฐานนี้จะต้องมีหน้าที่ราชการก่อน 

                มาตรา 82 (6) ต้องรักษาความลับของทางราชการ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
                     ความลับของทางราชการ คือสิ่งที่ทางราชการยังไม่มีคำสั่งให้เปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล  ข่าวสาร หรือสิ่งใดๆ ก็ตาม
                     ความลับของทางราชการ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ  ลับที่สุด  ลับมาก  ลับ
                     ลับที่สุด  หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด
                     ลับมาก  หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง
                     ลับ หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ

                มาตรา 82 (7) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 มาตรา 82 (7)  กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนปฏิบัติต่อข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ  รวม 3 ประการ คือ
                                      1. ให้สุภาพเรียบร้อย
                                      2. ให้รักษาความสามัคคี
                                      3. ให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติหน้าที่
                                           คำว่า สุภาพเรียบร้อย ...................

                มาตรา 82 (8) ต้องต้อนรับ   ให้ความสะดวก   ให้ความเป็นธรรม  และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน

                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                มาตรา 82 (8)  แบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ
                1. ต้องต้อนรับประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                2. ต้องให้ความสะดวกแก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                3. ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                4. ต้องให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
                พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 94 บัญญัติว่า
                 ข้าราชการพลเรือนต้องต้อนรับ  ให้ความสะดวก   ให้ความเป็นธรรม  และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย........
      
                มาตรา 82 (9)   ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย
           มาตรา 82 (9)  แยกความผิดออกได้เป็น 2 กรณี คือ
                 1. ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการ
                     1.1 ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
                     1.2 ปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
                 2. ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการ
                      ระเบียบนี้ ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 ระเบียบนี้เป็นข้อห้าม มี 11 ข้อ
  .         
                มาตรา 82 (10) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย

                การที่วินัยบทนี้ต้องให้ข้าราชการรักษาชื่อเสียงของตน เนื่องจากราชการถือว่าข้าราชการเป็นผู้มีเกียรติ เมื่อเป็นผู้มีเกียรติจึงเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นข้าราชการ  ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติใดๆ ต้องรักษาชื่อเสียงของตนไว้มิให้เสื่อมเสีย
                 คำว่า เกียรติศักดิ์ หมายถึง  ฐานะที่ได้รับการสรรเสริญ  ดังนั้นการรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของข้าราชการ จึงไม่เท่ากัน เช่นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมครู อาจารย์  ข้าราชการฝ่ายปกครอง ต้องรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมากกว่าข้าราชการชั้นผู้น้อย หรือข้าราชการตำแหน่งทั่วๆ ไป
                  คำว่า เสื่อมเสีย หมายถึง  เสียหาย ไม่เชื่อถือ  ไม่ไว้วางใจ  ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535  มาตรา 98 วรรคหนึ่ง ใช้คำว่า ประพฤติชั่วไม่ร้ายแรง และ ก.พ. เคยวางหลักในการพิจารณาเรื่องประพฤติชั่วไว้ โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้
                  1. เกียรติของข้าราชการ
                  2. ความรู้สึกของสังคม
                  3. เจตนาที่กระทำ
                      ดังนั้นองค์ประกอบนี้จึงนำไปใช้กับเรื่อง เสื่อมเสีย ได้              

                มาตรา 82 (11) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก..
           ขณะนี้ ( วันที่ 19 กรกฎาคม 2553) ก.พ. ยังไม่ได้ออกกฎ  จึงไม่ทราบว่ามีการกระทำอย่างไรบ้างที่เป็นความผิด

              มาตราที่เกี่ยวข้องกับ มาตร 82 คือมาตรา 84 และ มาตรา 85 (7) และ (8)
                มาตรา 84  ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 81 และมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย
                ดังนั้น การปรับบทฐานความผิดตามมาตรา 82  จะต้องปรับมาตรา 84 ด้วย

                 มาตรา 85 (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
                 มาตรา 85 (8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสองและมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.. กำหนดให้เป็นความผิดวินัย
อย่างร้ายแรง 

               มาตรา 83  ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้
                มาตรา 83 (1) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. ต้องมีการรายงาน   คำว่า  รายงาน.............
                 2. ข้อความที่รายงานเป็นเท็จ
                 3. เป็นการรายงานต่อผู้บังคับบัญชา  คำว่า  ผู้บังคับบัญชา หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายเท่านั้น

                มาตรา 83 (2) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. เป็นการปฏิบัติราชการ
                 2. เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
                      ผู้บังคับบัญชาเหนือตน หมายถึงผู้บังคับบัญชาในลำดับที่ถัดจากตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
                 3. เป็นผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย

                มาตรา 83 (3) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                   1. มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นหรือไม่
                   2. คำว่า ประโยชน์   ต้องเป็นประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
                    3. การอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะกระทำโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็เข้าข่ายผิดแล้ว

                มาตรา 83 (4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
                 หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                  1. คำว่า  ประมาทเลินเล่อ คือขาดความระมัดระวัง  ไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ
                  2. ประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ คือ
                      กระทำโดยประมาท  ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์  และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้  แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                           คำว่า  วิสัย   หมายถึง..............

                            คำว่า  พฤติการณ์   หมายถึง..............

                มาตรา 83 (5) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. คำว่า ประโยชน์   ต้องเป็นประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
                 2. คำว่าอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม
                 3. คำว่าอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
                      คำว่า เกียรติศักดิ์ หมายถึง  ฐานะที่ได้รับการสรรเสริญ 

                มาตรา 83 (6) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

                 หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. ตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกับกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ เช่น กรรมการอำนวยการ  ผู้อำนวยการ
                2. ถ้าเป็นที่ปรึกษา หรือผู้ถือหุ้น  จะไม่เข้าเงื่อนไข มาตรา 83 (6)
                3. ข้าราชการไปเป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิต ได้หรือไม่  กรณีนี้ ก.พ. เคยตอบข้อหารือว่าเป็นได้  เพราะลักษณะงานไม่คล้ายคลึงกัน
                 4. จุดมุ่งหมายของวินัยบทนี้คือ กลัวว่าข้าราชการจะละทิ้งเวลาราชการ  ไปทำงานในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือจะมีการเอื้อประโยชน์ให้กัน

                มาตรา 83 (7) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า กลั่นแกล้ง   หมายถึง  หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่างๆ, แกล้งใส่ความ
                2. คำว่า กดขี่    หมายถึง ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้อำนาจบังคับเอา,  แสดงอำนาจเอา
                3. คำว่า ข่มเหง   หมายถึง ใช้กำลังรังแก, แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

                มาตรา 83 (8) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก..

               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า ล่วงละเมิดทางเพศ  หมายถึง ล่วงเกิน, ฝ่าฝืนจารีตประเพณี, ฝ่าฝืนกฎหมาย
                2. คำว่า คุกคามทางเพศ  หมายถึง ทำให้หวาดกลัว, แสดงอำนาจกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว
                3.  การล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศ หมายถึง ชายทำกับหญิงหรือหญิงทำกับชายหรือเพศเดียวกันกระทำต่อกันก็ได้
                4. ขณะนี้ (19 กรกฎาคม 2553)  ก.พ. ยังไม่ได้กำหนดว่าการกระทำอย่างไรที่เป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ   ดังนั้นหากมีการกระทำผิดเกิดขึ้น  ในขณะนี้ต้องปรับบทฐานความผิดเป็นเรื่อง เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82 (10)  หรือ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85 (5)  ไปก่อน

                มาตรา 83 (9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ

                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
            1. คำว่า ดูหมิ่น   หมายถึง แสดงกิริยา ท่าทาง พูดจา  หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต้อยต่ำหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริง  คำว่า เหยียดหยาม หมายถึง  ดูหมิ่น   
                2. คำว่า กดขี่    หมายถึง ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้อำนาจบังคับเอา,  แสดงอำนาจเอา
                3. คำว่า ข่มเหง   หมายถึง ใช้กำลังรังแก, แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
                4. เป็นการกระทำต่อประชาชนผู้มาติดต่อราชการ   ประชาชนหมายถึงบุคคลทั่วไปคือชาวไทยหรือชาวต่างประเทศก็ได้

                มาตรา 83 (10) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก..
                 ขณะนี้ (วันที่ 19 กรกฎาคม 2553) ก.พ. ยังไม่ได้ออกกฎ  จึงไม่ทราบว่ามีการกระทำอย่างไรบ้างที่เป็นความผิด

                มาตรา 84  ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 81 และมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย
                ดังนั้น การปรับบทฐานความผิดตามมาตรา  83 จะต้องปรับมาตรา 84 ด้วย

               มาตรา 85 (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
                มาตรา 85 (8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสองและมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.. กำหนดให้เป็นความผิดวินัย
อย่างร้ายแรง 

               มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
               มาตรา 85 (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
               1. มาตรา 85 (1)  มีความผิดวินัย 2 ฐานความผิด
                   1.1 ความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
                         (1)  มีหน้าที่ราชการจะต้องปฏิบัติ
                         (2) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ
                         (3) เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
                               คำว่า เพื่อ   คือมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือเจตนาเล็งเห็นผล
                   1.2 ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
                         (1)  มีหน้าที่ราชการจะต้องปฏิบัติ
                         (2) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ
                         (3) เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
                         (4) โดยมีเจตนาทุจริต
               2.  คำว่า ปฏิบัติหน้าที่ราชการ  คือ..............
                                 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คือ...............

                 3. คำว่า มิชอบ  คือ................
  
               มาตรา 85 (2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. คำว่า โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
                 2. คำว่า เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง

               มาตรา 85 (3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า ติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน
                2. คำว่า โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
                 3. คำว่า มีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

               มาตรา 85 (4) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
               หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
               คำว่า ประพฤติชั่ว ก.พ. เคยวางหลักในการพิจารณาเรื่องประพฤติชั่วไว้ โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้
                    1. เกียรติของข้าราชการ

                    2. ความรู้สึกของสังคม

                    3. เจตนาที่กระทำ
                    
                      ตัวอย่างเรื่องประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
                      1. เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้
                      2. หมกมุ่นในการพนัน
                      3. ทุจริตในการสอบ
                      4. เบิกค่าพาหนะ หรือเบี้ยเลี้ยงเป็นเท็จ
                      5. ปลอมเอกสาร
                      6. รับรองเอกสารเท็จ
                      7. กระทำความผิดทางอาญา
                      8. มีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาว

               มาตรา 85 (5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                1. คำว่า ดูหมิ่น   หมายถึง แสดงกิริยา ท่าทาง พูดจา  หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต้อยต่ำหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริง  คำว่า เหยียดหยาม หมายถึง  ดูหมิ่น   
                2. คำว่า กดขี่    หมายถึง ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้อำนาจบังคับเอา,  แสดงอำนาจเอา
                3. คำว่า ข่มเหง   หมายถึง ใช้กำลังรังแก, แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
                4. ประชาชนผู้ติดต่อราชการ

               มาตรา 85 (6) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ
โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
                หลักในการพิจารณาความผิดวินัยฐานนี้ คือ
                 1. กระทำความผิดทางอาญา
                 2. จนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก คือ ประหารชีวิต
                 3. คำพิพากษาให้จำคุกถึงที่สุดแล้ว
                 4. ข้อยกเว้น กรณีถูกจำคุก โดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ

               มาตรา 85 (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
               มาตรา 85 (8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง
และมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.. กำหนดให้เป็นความผิดวินัย
อย่างร้ายแรง 

               มาตรา 86 กฎ ก.. ตามมาตรา 80 วรรคสอง มาตรา 82 (11) มาตรา 83 (8)และ (10) และมาตรา 85 (8) ให้ใช้สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎ ก.. ดังกล่าวใช้บังคับ


                                                 .............................................................................



วินัยและการดำเนินการทางวินัย
            เป้าหมายของการบริหารงานบุคคลที่สำคัญคือ  การใช้ทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือให้บุคคลที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ  บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การกำหนด  การบริหารงานบุคคลที่ดีหรือการให้คนปฏิบัติงานได้ดีนั้นจะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย  3  ประการคือ  ความรู้ความสามารถ  ประสบการณ์  และความประพฤติดี  องค์ประกอบทั้ง  3  ประการนี้  กล่าวได้ว่าความประพฤติสำคัญมากเพราะคนจะมีความรู้ความสามารถเพียงใดก็ตาม  ถ้าความประพฤติไม่ดี  ความรู้ความสามารถก็ไม่เกิดประโยชน์  ไม่สามารถปฏิบัติงานให้เกิดผลดีได้  ดังนั้นการควบคุมการประพฤติปฏิบัติของบุคคลจึงเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารงานบุคคล  สิ่งที่ใช้ควบคุมความประพฤติ  โดยทั่วไปได้แก่  กฎหมาย  พระราชบัญญัติ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ซึ่งใช้บังคับหรือควบคุมประชาชนทุกคนที่อยู่ในรัฐ  ประเทศ  และแคว้นต่าง ๆ หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือละเมิดจะถูกลงโทษตามความผิด  แต่สำหรับข้าราชการนั้น  นอกจากจะถูกควบคุมโดยกฎหมายของบ้านเมืองแล้วยังถูกควบคุมความประพฤติโดยวินัยขององค์การอีกส่วนหนึ่งด้วย 
ความหมายของคำว่า  วินัย
วินัย ระเบียบวินัยและวินัย  มีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย ดังนี้
กรมวิชาการ (2542 : 21) ได้ระบุว่า วินัย หมายถึง ระเบียบกฎเกณฑ์ข้อตกลงที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตร่วมกันเพื่อให้อยู่อย่างราบรื่นมีความสุข ความสำเร็จโดยอาศัยการฝึกให้ปฏิบัติตนรู้จักควบคุมตนเอง
เชาว์ มณีวงศ์ (... : 167) กล่าวว่า ระเบียบวินัย หมายถึง แบบแผนของความประพฤติที่ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดขึ้นไว้เพื่อให้สมาชิกในโรงเรียนควบคุมตนเอง
ปราชญา  กล้าผจัญและพอตา  บุตรสุทธิวงศ์  ( 2550  : 111)  กล่าวว่า  วินัย  หมายถึง  การควบคุมความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน  นอกจากนี้แล้ว  วินัยยังหมายถึง  ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่า  สามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายด้วย
พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ (2531 : 290) ให้ความหมายวินัยไว้ว่า การอยู่
ในระเบียบ ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ
พนัส หันนาคินทร์ (2542 : 38) กล่าวว่า วินัย หมายถึง การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง กติกาและกฎหมายตามที่สังคมได้วางไว้หรือกลุ่มได้กำหนดตกลงนำมาซึ่งความสงบสุขความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงและความปลอดภัย
            วิเชียร  วิทยอุดม  (2550 : 215)  กล่าวว่า  วินัยองค์การเป็นกระบวนการลงโทษพนักงานที่ฝ่าฝืนกฎขององค์การ  หรือมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ที่แย่ถึงแย่มากและต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข  ในหลายปีที่ผ่านมาผู้บริหารที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือพฤติกรรมของพนักงานมักกล่าวว่า  คุณถูกไล่ออกแล้ว !”  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารคือบุคคลที่ชี้ขาดการตัดสินและใช้วินัยองค์การ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  (2550 : 2)  กล่าวว่า  วินัย  หมายถึง  กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม  หากฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษ  หรือวินัย  หมายถึง  การควบคุมความประพฤติของคนในองค์การให้เป็นไปตามแบบแผนที่พึงประสงค์    และวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  หมายถึง  ข้อบัญญัติที่กำหนดเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามหมวด  6  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้อราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ.  2547 
สมบูรณ์ สิงห์คำป้อง (2542 : 36) กล่าวว่า วินัย หมายถึง คุณลักษณะที่อยู่ภายในตัวบุคคลที่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้โดยไม่ถือว่าเป็นการบังคับให้กระทำ
อรรณพ อุ่นจะทำ  (2541 : 18) กล่าวว่า วินัย หมายถึง มาตรการที่สร้างขึ้นเพื่อให้สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่แต่ละสังคมกำหนดไว้ อาจเป็นทั้งการส่งเสริมให้กระทำความดีหรือให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรืออาจเป็นการลงโทษ
            เมื่อนำวินัยองค์การมาใช้มักมีปัญหาเกิดขึ้นว่า  ทำไมต้องมีการกำหนดวินัยขึ้นมาควบคุมพนักงาน”  ผู้บริหารจำนวนมากที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับวินัยองค์การมักจะคำนึงถึงบทลงโทษเป็นลำดับแรก  เหตุใดพนักงานจึงต้องถูกลงโทษเป็นคำถามที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในองค์การ
            การลงโทษทางวินัยเป็นกระบวนการสำคัญอันหนึ่งในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพของข้าราชการและมีจุดมุ่งหมายเพื่อธำรงค์ศักดิ์ศรีของข้าราชการด้วย  การลงโทษทางวินัยถูกนำมาใช้เป็นมาตรการเชิงลบควบคู่กับการให้รางวัลซึ่งเป็นมาตรการเชิงบวก  ภายใต้แนวคิดที่ว่า  ข้าราชการที่ดีมีประสิทธิภาพควรได้รับการยกย่องและให้รางวัลเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดี  ข้าราชการที่กระทำความผิดสมควรได้รับการลงโทษตามควรแก่กรณี  เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ข้าราชการอื่น
จากแนวคิดที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า วินัย หมายถึง การอยู่ในระเบียบแบบแผนและข้อบังคับของสังคม   ความสามมารถของบุคคลในการกระทำและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปตามที่มุ่งหวังและเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากสามัญสำนึกขึ้นมาเองซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคลเกิดจากการได้รับการอบรม ปลูกฝังของมนุษย์ด้วยความสมัครใจและมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่ดีงามแม้จะมีสิ่งเร้าภายนอกหรือภายในตนเองพฤติกรรมก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงโดยพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นจะต้องไม่ขัดกับระเบียบของสังคมด้วย
ความสำคัญของวินัย
วินัย เป็นข้อปฏิบัติที่ใช้ควบคุมความประพฤติของคนดังที่กล่าวมาในความหมายของวินัยเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม ดังนั้นระเบียบวินัยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่าน ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
เชาว์ มณีวงศ์ (... : 168) กล่าวถึงความสำคัญของวินัยไว้ว่า ช่วยให้บุคลากรควบคุมดูแลตนเองและสังคมส่วนรวมได้ด้วยความสงบสุข   เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานการทำงาน   ช่วยนำคนไปสู่การทำความดีความเจริญ เว้นข้อห้ามทำตามคำสั่งบางประการมากกว่าส่วนตนสังคมเป็นสุขร่มเย็น วินัยช่วยให้คนมีระเบียบในตนเอง ลดความขัดแย้งเกิดความสามัคคีดำรงตนอยู่ในสังคมและทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
พนัส  หันนาคินทร์ (2526 : 239) กล่าวว่า วินัยช่วยเสริมสร้างให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดความรู้สึกสำนึกและความเคยชินที่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ดีงามเป็นมาตรฐานระหว่างความประพฤติของกลุ่มบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในองค์การช่วยเตรียมตัวบุคลากร สำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคตจะได้ใช้สิทธิ เสรีภาพและความรับผิดชอบอย่างถูกต้องช่วยสร้างและรักษาไว้ซึ่งสภาพการณ์อันจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์การ หากขาดระเบียบวินัยการดำเนินงานขององค์การ  จะเต็มไปด้วยอุปสรรค
สนั่น  สุมิตร (2520 : 20-21) กล่าวถึง  ความสำคัญของวินัยพอสรุปได้ว่า การฝึกทางวินัยโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มีนิสัยประจำใจดี คือ ให้มีความเคารพมีมารยาทและความประพฤติอันดีงาม มีความเห็นอกเห็นใจกันมีความร่วมมือซึ่งกันและกันความสำคัญของวินัยมีดังนี้
1) วินัยทำให้ผู้รักษาเป็นคนดีเป็นเครื่องมือปกป้องความเสื่อมเสีย
2) วินัยเป็นเครื่องมือวัดความดีของคนใครจะเป็นคนดีหรือคนเลว ดีมาก ดีน้อยและไม่มีอะไรเป็นเครื่องมือวัดได้อย่างแม่นยำเท่ากับการสังเกตวินัยของผู้นั้นว่าเคร่งครัดในวินัยของตนเองเพียงใด
3) วินัยเป็นเครื่องแสดงความแตกต่างระหว่างบุคคล
สมเกียรติ  พ่วงรอด  (อ้างถึงในชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์  2531 : 167)  วินัยเป็นข้อกำหนดการปฏิบัติที่มีความสำคัญมากต่อการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลหน่วยงานหรืองค์การ  ซึ่งได้กล่าวถึงความสำคัญไว้ดังนี้
1.  ด้านการบริหารงานบุคคล  ในหน่วยงานย่อมประกอบด้วยบุคคลหลายคนหลายฝ่าย  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนด  ระเบียบ  ข้อบังคับต่าง ๆ ขึ้นเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้คล่องตัว  สะดวก  รวดเร็ว  และไม่เป็นปัญหาต่อระบบงาน
2.  ด้านพฤติกรรมของบุคคล  ช่วยกำหนดของเขตในการปฏิบัติของบุคคลให้อยู่ในแนวปฏิบัติที่พึงประสงค์ถูกต้องตามจารีตประเพณี  และสิ่งที่สังคมต้องการเพื่อความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง  ย่อมต้องมีวินัยต่อผู้อื่นด้วย  ซึ่งทำให้บุคลากรเหล่านั้นสามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เป็นปัญหาต่อหน่วยงานของตนเองและสังคม
ลีลา  สินานุเคราะห์ (อ้างอิงใน  ปราชญา  กล้าผจัญและพอตา  บุตรสุทธิวงศ์, 2550: 111)กล่าวว่า   ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมีระเบียบวินัย ประกอบด้วยต่าง ๆ ดังนี้
1.  ความจำเป็นตามกฎหมาย   กฎหมายต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมายแรงงาน   กฎหมายคุ้มครองแรงงาน  กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.  2547
2.  ความจำเป็นทางด้านแรงงานสัมพันธ์   องค์การจำทำงานได้อย่างราบรื่น  และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ก็ต่อเมื่อเกิดความร่วมมือ  และความเข้าใจระหว่างกันและกัน  แต่ละฝ่ายต้องทราบและปฏิบัติตามหน้าที่ และบทบาทของตน ทุกคน  ทุกฝ่ายต้องมีวินัย  และรักษาระเบียบวินัย  หากทุกคนประพฤติอยู่ในกรอบวินัยปัญหาต่าง ๆ ก็จะหมดไป
3.  ความจำเป็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ระเบียบวินัยเป็นเครื่องกำหนดมาตรฐานความประพฤติในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การ  เป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดผลการปฏิบัติงาน  เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
4.  ความจำเป็นต้องความเจริญก้าวหน้าขององค์การ   เมื่อมนุษย์ในองค์กร  มีพฤติกรรมแห่งองค์กรที่ดี  ต่างก็มีระเบียบวินัยในตนเอง  เคร่งครัดในการรักษากฎ  กติกา  วินัยส่วนร่วมไม่มีใครละเมิด  ไม่มีใครฝ่าฝืน  องค์การนั้นก็ย่อยที่เกิดความสุข  และสามารถที่จะพัฒนาความก้าวหน้าให้เกิดขึ้นในองค์การได้ดียิ่งขึ้น
จากแนวคิดของบุคคลดังกล่าวสรุปได้ว่า วินัยมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นเป้าหมายหลักที่สังคมต้องการให้เกิดกับคนทุกคนและคงอยู่พัฒนาขึ้นติดตัวไปตลอดชีวิต เพราะวินัยเป็นเครื่องกำหนดทิศทางให้กับสมาชิกในสังคมใช้ยึดถือและปฏิบัติตามเพื่อให้เป็นไปในแนวทาง
เดียวกันเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นส่วนรวม 
หลักการสำคัญของวินัย
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2537 : 26-27) กล่าวว่า หลักการดำเนินการทางวินัยเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจะต้องดำเนินการให้รัดกุม โดยมีหลักดำเนินการดังนี้
1) หลักการป้องกัน (Prevention) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการประพฤติผิดวินัยเกิดขึ้นมีแนวความเชื่อพื้นฐานว่า การป้องกันนั้นดีกว่าการเยียวยา โดยดำเนินการป้องกันด้วยวิธีการหลาย ๆ อย่าง
2) หลักการควบคุม (Control) เพื่อควบคุมให้ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับขององค์กร โดยดำเนินการควบคุมดูแลหรือชักจูงให้ประพฤติปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดไว้
3) หลักการแก้ไข (Correction) เพื่อป้องกันแก้ไขปรับปรุงการประพฤติผิดวินัย  ดำเนินการโดยการลงโทษหรือแก้ไขพฤติกรรมตามความเหมาะสม
4) หลักการพัฒนาและส่งเสริม  (Development)  เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น  ให้ประพฤติดียิ่งขึ้นโดยองค์กรจัดสภาพสิ่งแวดล้อมหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาและการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์
จากหลักการสำคัญของวินัยที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า หลักการสำคัญของวินัยองค์กรสามารถนำหลักการหรือแนวปฏิบัติที่ออกหรือกำหนดโดยหน่วยงานบังคับบัญชาระดับสูงหรือองค์กรสามารถกำหนดขึ้น อาจจะองค์กรกำหนดขึ้นเองหรือองค์กรให้บุคคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎหรือแนวปฏิบัติก็ได้โดยวินัยนั้นมีการส่งเสริมพัฒนา ป้องกันหรือการแก้ไขไว้    ซึ่งการดำเนินการทางวินัยกับบุคลากร  ควรประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้
1) ด้านการส่งเสริมวินัยของบุคลากร  ประกอบด้วย
(1) การมีความรับผิดชอบ
(2) ขยัน ประหยัดและอดออม
(3) ความเชื่อมั่นในตนเอง
(4) ความซื่อสัตย์
(5) การพึ่งตนเอง
2) ด้านการป้องกันการทำผิดวินัยของบุคลากร  ประกอบด้วย
(1) การแต่งกาย
(2) ความประพฤติ
(3) เจตคติต่อพฤติกรรมการมีวินัย
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
3) ด้านการแก้ไขวินัยของบุคลากร  ประกอบด้วย
(1) การทำกิจกรรม
(2) การลงโทษ
 ลักษณะและประเภทของวินัย
            วินัย  (Discipline)  เป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในกฎเกณฑ์ที่กำหนด  ซึ่ง  ชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์  (2531 :167)  ได้แบ่งวินัยออกเป็น  ลักษณะ  ดังนี้
            1.  ลักษณะวินัยในทางบวก 
วินัยเป็นสิ่งที่ดีงาม  มีการควบคุมความประพฤติให้มีระเบียบ  ถูกต้อง  มั่นคง  แข็งแรง  รวมทั้งเป็นการสร้างสรรค์เจตคติ  สร้างบรรยากาศของหน่วยงานที่ดี  ซึ่งช่วยให้บุคลากรปฏิบัติงานโดยยึดหลักการระเบียบวินัยหรือกฎ  ข้อบังคับ  ทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่หน่วยงาน
            2.  ลักษณะวินัยในทางลบ 
วินัยเป็นการลงโทษ  บังคับบัญชา  เป็นคำสั่งที่ให้คนอื่นทำตามกฎหรือข้อบังคับนั้น  ทำให้บุคลากรเกิดความกลัวต่อการกระทำซึ่งอาจถูกลงโทษ  ซึ่งอาจกล่าวสรุปลักษณะของวินัยได้ตามแผนภูมิดังนี้