ข้อสอบออนไลน์ชุดใหม่ล่าสุด

Monday, March 2, 2015

ภาค ข 1.3 จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

ภาค ข 1.3 จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

เอกสารประกอบการบรรยาย จิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงสาเหตุ     แห่งการแสดงพฤติกรรมกับช่วยให้สามารถพยากรณ์และควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ได้
พฤติกรรม คือ การกระทำต่างๆ  ของมนุษย์  ทั้งที่กระทำโดยรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว                       ทั้งที่ผู้อื่นสังเกตได้และสังเกตไม่ได้  แบ่งเป็น ๒ ประเภท  คือ 
พฤติกรรมภายนอก  ได้แก่  การกระทำที่บุคคลอื่นสามารถสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕         หรือสามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือต่างๆ
พฤติกรรมภายใน  ได้แก่  พฤติกรรมที่เป็นความในใจของผู้แสดงพฤติกรรมซึ่งผู้อื่นไม่สามารถสังเกตหรือใช้เครื่องมือใดๆ ช่วยในการสังเกตได้ นอกจากสันนิษฐานเอาจากพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออก
ความรู้ในเรื่อง บุคคลมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา           เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณากำหนดเป้าหมายทางการศึกษา  และกำหนดแนวทางการศึกษา            หรือการจัดทำหลักสูตร เพื่อให้เหมาะสมกับบุคคลในแต่ละวัยให้ได้มีการพัฒนาอย่างสูงสุด
การเรียนการสอนจะดำเนินไปอย่างราบรื่น เมื่อครูสามารถสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือ              มีการเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายที่ครูกำหนดไว้
ความรู้ทางจิตวิทยาช่วยให้ผู้สอนมีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียน  วิธีสอน  วิธีเรียน  ตลอดจน            รู้สาเหตุและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปตามจุดมุ่งหมาย              ที่พึงประสงค์  ทำให้ผู้สอนสามารถจัดสภาพการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
จิตวิทยากับผู้เรียน (โครงสร้างของร่างกาย
โครงสร้างของร่างกายมนุษย์  ประกอบด้วยกลุ่มเซลที่เรียกว่า เนื้อเยื่อและอวัยวะ  การทำงานของกล้ามเนื้อทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีความเคลื่อนไหว  การทำงานของต่อมต่างๆ ในร่างกายมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์  ระบบประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและต่อมและมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยตรง
จิตวิทยากับผู้เรียน ()
วุฒิภาวะ  ความพร้อม  ความต้องการ  การรับรู้  อารมณ์ และการจำการลืม ของบุคคลมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคล
วุฒิภาวะ  เป็นระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และ  สติปัญญาของบุคคลในแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ  ไม่ขึ้นอยู่กับการฝึกหรือสภาวะแวดล้อม               การที่จะสอนให้บุคคลใดแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์จำเป็นจะต้องให้บุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเป็นประการแรก  และยิ่งถ้าบุคคลเกิดความต้องการหรือความสนใจที่จะเรียน  พร้อมทั้งพอมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนอยู่ด้วยก็ย่อมช่วยให้บุคคลมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น 
เรียกว่า  บุคคลมีความพร้อมที่จะเรียน
ความพร้อมของบุคคลขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและสภาพการณ์แวดล้อม
ความต้องการของบุคคลประกอบด้วยความต้องการทางกายและความต้องการทางใจ  เมื่อบุคคลเกิดความต้องการย่อมมีผลก่อให้เกิดแรงผลักดันทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตองสนอง       ความต้องการ
ความต้องการทางกายเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของบุคคลขาดสมดุลย์   ได้แก่  ความต้องการ อาหาร อากาศ น้ำอุณหภูมิที่พอเหมาะ, การเคลื่อนไหว, การเปลี่ยนแปลง, การขับถ่าย, ประสาทสัมผัสและ        การพักผ่อน
ความต้องการทางใจ  ได้แก่  ความต้องการความรักความอบอุ่น, ความปลอดภัย, การเป็นที่         ยอมรับของกลุ่มหรือสังคม, ความเป็นอิสระ
การรับรู้ คือกระบวนการที่บุคคลรับสัมผัสสิ่งเร้าแล้วใชประสบการณ์หรือความรู้เดิมแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับสัมผัสนั้น   การรับรู้ของบุคคลขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าที่จะรับรู้  อวัยวะรับสัมผัสหรือความรู้สึกสัมผัสของผู้รับรู้และประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัส
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล  ได้แก่  ลักษณะของสิ่งเร้า  และลักษณะของบุคคลที่จะรับรู้
ลักษณะของสิ่งเร้า  ได้แก่  ความเข้มของสิ่งเร้า  ความเคลื่อนไหวหรือความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า  ความซ้ำซากของสิ่งเร้า
ลักษณะของบุคคลที่จะรับรู้  ได้แก่  การทำหน้าที่ของอวัยวะรับสัมผัส  และ  ความตั้งใจที่จะรับรู้
การเกิดอารมณ์และการควบคุมพฤติกรรมเมื่อเกิดอารมณ์เป็นผลจากทั้งวุฒิภาวะและการได้รับประสบการณ์  อารมณ์มีส่วนกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
อารมณ์ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในลักษณะยอมรับ หรือเข้าหา
อารมณ์ที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลต่อต้านหรือถอยหนี
อารมณ์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ  เช่น  การทำงานของกล้ามเนื้อ  การทำงานของต่อมต่างๆ   การเต้นของหัวใจ  การหดหรือขยายของม่านตา  การบีบตัวของกระเพาะและลำไส้  การไหลเวียนของโลหิต
การจำและการลืมมีทั้งส่วนที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
การจำ คือ การที่บุคคลสามารถรักษาความรู้หรือประสบการณ์ที่เคยได้รับและสามารถนำออกมาบอกเล่าหรือใช้ประโยชน์ได้อีก
การลืม คือ การที่บุคคลไม่สามารถเก็บสะสมสิ่งที่เรียนหรือประสบการณ์ที่เคยได้รับไว้ได้
ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความจำ  ได้แก่  เนื้อหาที่มีความหมาย  การจัดระบบความรู้เข้าเป็น        หลักการหมวดหมู่  การเรียนให้รู้แจ้งเห็นจริง  การจำเป็นหน่วย  และวิธีการเรียนที่ดี
ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดการลืม  ได้แก่  การขาดการฝึกฝนหรือทบทวน  การเรียนเรื่องที่คล้ายกันในเวลาติดต่อกันจนเกิดความสับสน  การเลือนหายไปเองเนื่องจากเวลาผ่านไป  การจงใจลืม
จิตวิทยากับผู้สอน  ประกอบด้วย  บุคลิกภาพของผู้สอน  การปฏิบัติตนเป็นตัวแบบ                   การเสริมแรงและการลงโทษ
บุคลิกภาพของครู  ได้แก่  บุคลิกภาพทางกาย  บุคลิกภาพทางอารมณ์  บุคลิกภาพทางสังคม  บุคลิกภาพทางสติปัญญา
การที่บุคคลจะเลียนแบบตัวแบบมากหรือน้อย  ขึ้นอยู่กับ  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบกับ         ผู้เลียนแบบ  ความสนใจของผู้เลียนแบบที่มีต่อตัวแบบ  ผลของพฤติกรรมที่ตัวแบบได้รับ  ความเป็นตัว ของตัวเองของผู้เลียนแบบ  และ ความซับซ้อนของพฤติกรรมตัวแบบและความจำกัดของผู้เลียนแบบ
การปฏิบัติตนเป็นตัวแบบของครู  ด้านการสอน  ลักษณะนิสัย  การปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับคำสอน
การเสริมแรง  คือ  การทำให้บุคคลเกิดความพอใจด้วยการให้สิ่งที่ผู้รับพอใจ  หรือเอาสิ่งที่ผู้รับ  ไม่พอใจออกไป
การลงโทษ  คือ  การทำให้บุคคลรู้สึกไม่เป็นสุขด้วยการให้สิ่งที่เขาไม่พอใจ หรือเอาสิ่งที่พอใจออก
ความบกพร่องของการใช้วิธีการลงโทษ
            . การลงโทษไม่สามารถกำจัดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาลงได้อย่างสิ้นเชิง  เพียงแต่ระงับปัญหาไว้ชั่วคราว
            . การลงโทษบ่อยๆ เป็นอันตรายต่อสภาพบุคคล  เพราะผู้รับไม่สบายใจและ                  อาจขาดความมั่นคงทางอารมณ์
            . การลงโทษเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้ผู้ถูกลงโทษรู้ว่าพฤติกรรมที่ดีคืออะไร  และ       อาจทำให้ผู้ถูกลงโทษมีแนวโน้มที่จะต่อต้านการลงโทษด้วยการต่อสู้ตอบหรือเก็บตัวกลายเป็นคนที่              ไม่อยากคบค้าสมาคมกับผู้อื่น

ข้อคำนึงในการเสริมแรง

            . ควรให้การเสริมแรงเฉพาะเมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมที่ดี หรือที่ต้องการเท่านั้น
            . การให้แรงเสริม  ต้องแน่ใจว่า เป็นสิ่งที่บุคคลพึงพอใจจริงๆ  เพราะบุคคลแตกต่างกัน

ข้อคำนึงในการลงโทษ

            . เมื่อจะลงโทษบุคคลใดควรมีการชี้แจงให้เขาเข้าใจก่อนว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่ได้รับการลงโทษ  และเขาควรปรับปรุงพฤติกรรมอย่างไร
            . การลงโทษควรกระทำทันทีเมื่อผู้ถูกลงโทษแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นอีก
            . ไม่ควรลงโทษจนรุนแรงเกินกว่าเหตุ
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ประกอบด้วย ลักษณะของผู้เรียนรู้เอง ลักษณะของสิ่งที่จะเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้และแรงจูงใจในการเรียนรู้
ลักษณะของผู้เรียนรู้  ได้แก่  ความพร้อมและความต้องการในการเรียนรู้  ความสามารถในการรับรู้  อารมณ์  ความสามารถในการจำ  ระดับเชาวน์ปัญญา  ทัศนคติต่อการเรียนรู้และสุขภาพจิต
เชาวน์ปัญญาของบุคคลเป็นระดับความสารถทางสมองของบุคคลในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ             ที่แวดล้อมตนอยู่
ทัศนคติต่อการเรียนรู้ของบุคคล  เป็นสภาพจิตใจของบุคคลอันเป็นผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ที่ทำให้บุคคลมีท่าทีต่อสิ่งที่จะเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นไปในทางบวกหรือลบก็ได้
ลักษณะสำคัญของทัศนคติ
            . ทัศนคติเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
            . ทัศนคติเป็นสภาพจิตใจที่มีอิทธิพลต่อการคิดและการแสดงพฤติกรรมของบุคคล
            . ทัศนคติเป็นสภาพจิตใจที่มีความถาวรพอสมควร  เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะเปลี่ยนแปลงยาก
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเกิดทัศนคติ  ได้แก่  บิดามารดาและการอบรมเลี้ยงดู  ครูและการอบรมสั่งสอน  การศึกษา  วัฒนธรรมในสังคม
สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข   ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพ แวดล้อมได้อย่างมีความสุข  โดยมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น  มีชีวิตสมดุลย์  สามารถตอบสนองความต้องการทั้งของตนเองและคนอื่นได้โดยปราศจากความขัดแย้งภายในจิตใจตนเองและไม่มีอาการของ        โรคจิตหรือประสาท
บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีจะสามารถเรียนรู้สิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ได้ดีกว่าบุคคลที่มีสุขภาพจิตเสื่อม
ลักษณะและพฤติกรรมของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
            . มีสุขภาพกายดี
            . รู้สภาพและฐานะของตนเองอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงโดยไม่ยกย่องหรือ                ดูถูกตนเองจนเกินไป
            . มีเป้าหมายในชีวิตที่เป็นไปได้และเหมาะกับสภาพความเป็นจริง
            . กล้าเผชิญกับความเป็นจริงทั้งในทางดีและไม่ดี
            . มีอารมณ์เหมาะสมกับเหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วโดยปราศจากเหตุผลและสามารถควบคุมพฤติกรรมขณะเกิดอารมณ์ได้
            . มีพฤติกรรมเป็นที่ยอมรับของกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก  สามารถเข้ากับกลุ่มได้ดี  และสามารถแยกตัวออกจากกลุ่มได้ถ้าจำเป็น
            . มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดและความต้องการเป็นของตนเอง

อาการป่วยทางใจ

คนที่เริ่มมีปัญหาทางสุขภาพจิต หรืออาการป่วยทางใจระดับที่ ๑  บุคคลจะมีพฤติกรรมผิดปกติบางประการแต่เพียงเล็กน้อย สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้โดยไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นมีอาการป่วย         พฤติกรรมที่แสดงออก เช่น  ดื้อดึงเกินกว่าเหตุ  เกะกะระราน  ชอบทะเลาวิวาทและชอบทำลายของ       พูดปด  ลักขโมย  หนีโรงเรียน  ติดการพนันหรือยาเสพติด  หงุดหงิดง่าย บ่อยๆ โดยไม่รู้สาเหตุ                      ฉุนเฉียวโดยปราศจากเหตุผล  ขี้อิจฉา  พูดเพ้อเจ้า  ตัดสินใจเองไม่ได้  หวาดกลัวโดยปราศจากเหตุผล  นอนไม่หลับ  พูดวกวนซ้ำซาก  ฯลฯ
อาการป่วยทางใจระดับที่ ๒ เรียกว่าเป็นโรคประสาททางจิต  เป็นระดับที่เกิดความบกพร่องทางจิตใจจนทำให้มีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นที่สังเกตได้ของคนรอบข้าง  อาจทำความรำคาญหรือความเดือดร้อนให้ผู้อื่นบางโอกาส   พฤติกรรมที่แสดงออก เช่น  หวาดระแวงโดยปราศจากเหตุผล  มีความวิตกกังวลสูง  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  ขาดความมั่นคงทางอารมณ์  หวั่นไหวง่าย  ติดอ่าง  มีอาการกระตุกที่อวัยวะบางส่วนของร่างกายและใช้ยาเสพติดระงับอารมณ์  มีอารมณ์รุนแรงในทุกๆ เรื่อง  กลัวเกินกว่าเหตุและกลัวในสิ่งที่ไม่น่ากลัว  เบื่ออาหาร เบื่อโลก ท้อแท้  ขาดความรับผิดชอบ  นอนไม่หลับและเหนื่อยง่าย  ฯลฯ
อาการป่วยทางใจระดับที่ ๓  หรือโรคจิต  เป็นระดับที่เกิดความเสื่อมทางสุขภาพจิตอย่างมาก       จนทำให้บุคคลไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมปกติได้  มีพฤติกรรมที่หนีออกจากโลกของความเป็นจริง  บางคนอาจฆ่าตัวตายได้  พฤติกรรมที่แสดงออก  เช่น  มีบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก                  ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริงมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว  อาการหลงผิด  ซึมเศร้าแยกตัวเองออกจากคนอื่น  รู้สึกปวดแสบปวดร้อนโดยไม่มีสาเหตุ  ฯลฯ
สิ่งที่จะเรียนรู้ของบุคคลแบ่งออกเป็น  ๒ ชนิด  คือ  บทเรียนและสื่อประกอบบทเรียน
ลักษณะของบทเรียนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้
            . ความสั้น ยาว ของบทเรียน
            . ความยาก ง่าย ของบทเรียน
            . ความมีประโยชน์หรือมีความหมายของบทเรียนที่มีต่อบุคคล
ลักษณะของสื่อประกอบบทเรียนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้
            . ความชัดเจน ไม่ชัดเจน ของสื่อประกอบบทเรียน
            . ความง่าย ซับซ้อน ของสื่อประกอบบทเรียน
            . ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม กับผู้เรียนของสื่อประกอบบทเรียน
วิธีการเรียนรู้ของบุคคล มี  ๒ ลักษณะ  คือ  การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้โดยครูสอน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องขวนขวายทำความเข้าใจกับบทเรียนด้วยตนเอง  วิธีนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  มีหลายรูปแบบดังนี้
            . เรียนแบบรวดเดียวจบ  เหมาะสำหรับผู้ที่มีสมาธิในการเรียนมากและค่อนข้างฉลาด
            . วิธีเรียนแบบมีการทำโน้ตย่อใจความสำคัญ หรือพยายามจัดความรู้ประเภทเดียวกันเข้าไว้เป็นหมวดหมู่
            . วิธีเรียนที่มีการฝึกปฏิบัติควบคู่กันไปกับการเรียนภาคทฤษฎี
            . วิธีเรียนที่ทำความเข้าใจกับบทเรียนด้วยตนเองก่อนแล้วนำความเข้าใจนั้นมาแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่นที่กำลังเรียนในเรื่องเดียวกันอยู่
แรงจูงใจในการเรียนรู้ แบ่งเป็น แรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก  แรงจูงใจภายใน  ได้แก่  แรงกระตุ้นที่อยู่ภายในตัวบุคคล  แรงจูงใจภายนอก  ได้แก่  สิ่งกระตุ้นที่อยู่ภายนอกตัวบุคคล
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแรงจูงใจ
            . การแสดงออกของบุคคลเมื่อมีแรงจูงใจอย่างเดียวกันอาจแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม  และแตกต่างกันไปตามบุคคลในวัฒนธรรมเดียวกันเนื่องจากประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคคล
            . แรงจูงใจชนิดเดียวกันอาจทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาต่างกัน
            . แรงจูงใจต่างชนิดกันอาจทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาเหมือนกัน
            . แรงจูงใจหลายอย่าอาจทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปของการปลอมแปลง เช่นการเรียกร้องความสนใจแบบต่างๆ
            . การแสดงพฤติกรรมแต่ละอย่างของบุคคลอาจได้รับแรงจูงใจหลายๆ อย่างเก็บสะสม และแสดงออกในแรงจูงใจสุดท้ายที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล
แรงจูงใจกับการเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้
            . ความต้องการอยากรู้  อยากพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าโดยอาศัยการเรียนรู้
            . ความพึงพอใจที่จะเรียน และทัศนคติที่ดีต่อบทเรียน
            . บทเรียนที่น่าสนใจ  วิธีการสอนที่ดี  กิจกรรมที่สนุกสนาน  รางวัลที่ได้รับจากการเรียน  และสิ่งเร้าต่างๆที่ทำให้บุคคลเกิดความพอใจ
            . ผลของการเรียนรู้ที่สร้างความพอใจแก่ผู้เรียน


………………………………………….

สรุปจากเอกสารการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ชุดวิชา พื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ ๓ -

จิตวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตวิทยา (อังกฤษpsychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม

บทนำ[แก้]

จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้

ภาษาทางจิตวิทยา[แก้]

จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา

ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา[แก้]

เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้ หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์ เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว
นักจิตวิทยาได้แบ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาทางจิตวิทยาออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มแรกเห็นว่า การเลือกปัญหานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของนักจิตวิทยา กลุ่มที่สองนั้นกลับเห็นว่า การเลือกปัญหาและการตั้งคำถามควรจะเป็นไปตามทฤษฎี และกลุ่มหลังเห็นว่าความอยากรู้อยากเห็นที่เกิดขึ้นเอง เป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรามองโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าทั้งความอยากรู้อยากเห็นและทฤษฎี ต่างก็มีส่วนช่วยในการสังเกต อธิบาย และตีความข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพราะทฤษฎีนั้นมีบทบาทที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่สังเกต และชี้ให้เห็นคำถามใหม่ ๆ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นทฤษฎีจึงมีประโยชน์และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับทั่วไปและทั่วโลกก็ต่างกันยอมรับ

ทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยา[แก้]

ในทางจิตวิทยานั้นมีทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยาอยู่มากมาย หลักนั้นมี ทฤษฎีความสับสน คือ ผู้ป่วยนั้นจะเกิดความสับสนและแปรปรวนทางด้านอารมณ์ เกิดจากความไม่แน่นอนของจิต ซึ่งส่วนมากอาการที่แสดงออกมักจะเป็นการทำสิ่งที่ไม่ค่อยปกติ กังวล ไม่แน่นอน และอื่นๆ ทฤษฎีการปฏิเสธ คือ การที่ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตใจซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางบ้าน, ปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะโยนเอาปัญหาที่ตัวเองมีอยู่ให้กับผู้อื่น เนื่องจากการที่ไม่สามารถยอมรับปัญหาเหล่านั้นได้ โดยมากแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะหายในระยะเวลาไม่นานนัก แต่หากยังมีอยู่ควรพบจิตแพทย์--ดร.แอล.ดี.ชลิปป

วิธีการทางวิทยาศาสตร์[แก้]

เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิธีการทางจิตวิทยาประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นการสังเกตองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สำคัญ ๆ อย่างมีระบบ และขั้นการรวบรวมและตีความข้อมูลที่ได้มา ซึ่งการดำเนินการสังเกตอย่างมีระบบ คือ ความพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของอคติหรือความลำเอียงของผู้สังเกต และสามารถรับรองได้ว่า การสังเกตนั้นสามารถกระทำซ้ำได้
วิธีการสังเกตอย่างมีระบบนั้น มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดลอง (experimental method) โดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นเพื่อสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา และวิธีการหาความสัมพันธ์ (correlation method) โดยการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

วิธีการทดลอง[แก้]

ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ
ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ
หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป

วิธีการหาความสัมพันธ์[แก้]

วิธีการหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient correlation) ซึ่งจะมีค่าระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
วิธีการหาความสัมพันธ์ มีดังต่อไปนี้
  1. วิธีวัดทางจิตวิทยา (Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง
  2. การสังเกตในสภาพธรรมชาติ (Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน
  3. การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค (Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล (กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้
ทั้งวิธีการทดลองและวิธีการหาความสัมพันธ์ต่างก็มีประโยชน์และความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่หลายๆ ครั้งที่มีการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อการศึกษาที่ละเอียดหลายๆด้าน และเป็นประโยชน์ในทางจิตวิทยามากยิ่งขึ้น

โครงสร้างของจิตวิทยา[แก้]

จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
  1. ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
  2. เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
  1. การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
  2. การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
  3. สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น[แก้]

จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวิชาจิตเวชศาสตร์ (อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ คือสาขาที่ว่าด้วยการรักษาจิตใจ) และกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน ทั้งทางด้านพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ เคลื่อนไหวของร่างกาย และปัจจุบันก็สัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยมานุษยวิทยาศึกษาจุดกำเนิด ของมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่วนด้านสังคมวิทยาจะเน้น ศึกษากลุ่มสังคมมากกว่าตัวบุคคล โดยศึกษาการปะทะสังสรรค์ของแต่ละบุคคลในกลุ่ม และศึกษาอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อ แต่ละบุคคล

จิตวิเคราะห์[แก้]

จิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว คือ น.พ. ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์ การศึกษาของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต และจิตพยาธิวิทยา ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม แต่ฟรอยด์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นประเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา[แก้]

จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา

การขยายตัวทางจิตวิทยา[แก้]

ห้องปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลพ์ซิจ ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ กลุ่มโครงสร้างนิยม(Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection)
ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมา ให้เห็น
ในช่วงเวลาเดียวกัน ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ

จิตวิทยาในประเทศไทย[แก้]

สำหรับประเทศไทย การศึกษาทางด้านจิตวิทยาในระดับอุมดมศึกษานั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว ซึ่งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ได้มีการจัดตั้งหลักสูตรจิตวิทยาในระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาปนาเป็นภาควิชาหนึ่งในคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2507 โดยภาควิชาจิตวิทยาฯ ได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนจากสมาคมฟุลไบรท์ไทย หรือ Thai Fulbright Association (TFA) ทำให้หลักสูตรดังกล่าวมีมาตรฐาน มีความทันสมัย ทัดเทียมกับหลักสูตรการศึกษาจิตวิทยาในต่างประเทศ
กระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2489 ด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยา

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยามี 3 กลุ่มคือ

1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
1.1 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 18491936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
1.2 จอห์น บี วัตสัน (John B Watson คศ.1878 1958) ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
1.3 เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burrhus Skinner) ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory) 
1.4 เพียเจท์ (Jean Piaget) การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น
1.5 กาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น
- การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
- การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
- การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
- ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
- ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
- การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
- การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
- การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
1.6 ธอร์นไดค ทฤษฎีการเชื่อมโยง

2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
2.1 เดวิค พี ออซุเบล ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
2.2 Gestalt Psychologist  ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ (CognitiveTheory)
2.3 โคท์เลอร์ (Kohler, 1925) การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
2.4 Jero Brooner ทฤษฏีการเรียนรู้แบบค้นพบ    
2.5 Piaget ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา 


-2-

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
3.1 ศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling)
3.2 Anthony  Grasha กับ Sheryl Riechmann ทฤษฎีการสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน และสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมห้อง 
3.3 เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม
3.4 Robert Slavin และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมกันเรียนรู้
3.5 David Johnson และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้
3.6 Shlomo และ Yael Sharan ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ในงานเฉพาะอย่าง

ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาเทคนิค วิธีการและวัสดุอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การผลิตสื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เว็บการสอน, E – Learning การจัดรูปแบบการเรียนการสอน การสร้างเทคนิคการสอน เป็นต้น และทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
 - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
 - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
 - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม
- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน


-3-

2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ
1.     การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
2.    ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด
4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม


จิตวิทยาร่วมสมัย

จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์
  ร่วมสมัย หรือ Contemporary หมายถึง
Belonging to the same period of time: a fact documented by two contemporary sources. Of about the same age.
Current; modern: contemporary trends in design.

1. One of the same time or age: Shelley and Keats were contemporaries.
2. A person of the present age.
-4-

Contemporaries are persons, events, or movements that overlapped in time. For example, that William Shakespeare and Christopher Marlowe were born in the same year and wrote at the same time; thus they were contemporaries.
Contemporary as an adjective usually means pertaining to the period of time being considered. Thus, to judge Thomas Jefferson by "contemporary standards" is to judge him by the standards of his own time.
However, the word has a host of other meanings. Perhaps confusingly, it often means pertaining to our time—the time during which the word is used. In some contexts it is a synonym for Modernism, even if the artists or composers in question have been dead for some decades. In other contexts it means the host of influences, events and questions which are still being actively debated. Many people regard the present as being Postmodern, and part of the Information Age, while others see it as being in the Modern period, with post-modernity being a reaction against the general modern trend.
Contemporary often also means fashionable, or that which is based on present tastes and demographics. In this context it often refers to the most recent styles and furnishings.
See contemporary music, contemporary art, contemporary literature, contemporary philosophy and any article protected for being controversial.

จากความหมายต่าง ๆ เหล่านี้สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้คือ
Contempory หมายถึง  เกิดขึ้น มีชีวิตอยู่ หรือเข้ามาในเวลาเดียวกัน ในปีเดียวกัน ในทศวรรษ ศตวรรษ หรือสมัยเดียวกัน" คำว่าร่วมสมัย เป็นคำใช้คำประกอบคำอื่นเพื่อบอกลักษณะ เช่น เพลงร่วมสมัย ภาพเขียนร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย วรรณกรรมร่วมสมัย กวีร่วมสมัย เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้กับงานศิลปะมากกว่าด้านวิทยาศาสตร์ หรือหมายถึง
1. อยู่ในสมัยเดียวกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2. เป็นของสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับเราขณะนี้
3. "ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย" หมายถึงเหตุการณ์ตอนที่เกี่ยวกับเรื่องราวในปัจจุบันนับตั้งแต่ ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา
4. ร่วมเวลา หรือร่วมความคิดและร่วมอายุกัน




-5-

ดังนั้นคำว่า จิตวิทยาร่วมสมัยจึงหมายถึงการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาหลักการและการประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลทางจิตวิทยา พฤติกรรมทางสังคมของบุคคลและกลุ่มเกี่ยวกับการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนทัศนคติ การช่วยเหลือและการต่อต้านทางสังคม พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ความก้าวร้าว จิตวิทยาการนำและการทำงานเป็นทีม การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ หลักการคิดและการใช้เหตุผล วิเคราะห์ และอธิบายประเด็นปัญหาพฤติกรรมทางสังคม ให้บุคคลรู้จักตน เข้าใจคน และปรับตัวได้
ซึ่งแม้ศาสตร์ความรู้ ๆ ทางด้านจิตวิทยาจะเป็นความรู้ที่มีนักจิตวิทยาที่คิดค้นขึ้นหรือให้ความหมายไว้ในอดีตหรือในปัจจุบันแต่ถ้าความรู้เหล่านั้นมีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกัน อยู่ในแนวเดียวกัน หรือแนวคิดนั้นพึงเป็นแนวคิดที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ให้เกิดแก่มวลชนเป็นสำคัญ ก็ถือว่าศาสตร์ความรู้นั้นเป็นจิตวิทยาร่วมสมัย
จิตวิทยาร่วมสมัยที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาหลักการ ทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทฤษฎีทางจิตวิทยาใดถือว่าเป็นจิตวิทยาที่ร่วมสมัย
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้นของกาเย่ ( Gagne ) เพราะ เป็นทฤษฎีที่กาเย่ได้ให้ความหมายไว้ในปี 1977 แต่ในปัจจุบันก็ยังสามารถนำทฤษฎีนี้มาใช้ได้ ซึ่งในอดีตจะใช้ทฤษฎีนี้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนซึ่งผู้สอนอาจจะมอบหมายงาน หรือให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดซึ่งจะใช้ทฤษฎีนี้มาใช้ในการทำงานของผู้เรียนแต่ในปัจจุบันมักจะใช้ทฤษฎีนี้ในการออกแบบและพัฒนาสื่อการสอน เช่น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เว็บการสอน
2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือการเลียนแบบ ทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา (Bandura 1963) เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ จึงอธิบายได้ว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ร่วมสมัยเพราะ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและผู้เรียนจะต้องพบเจอสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากมาย ผู้เรียนจะต้องเลือกสังเกตสิ่งที่ต้องการเรียนรู้โดยเฉพาะ และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนจะต้องมีการเข้ารหัส (Encoding) ในความทรงจำระยะยาวได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย ซึ่งทฤษฎีสามารถนำมาใช้ได้ทั้งอดีตและปัจจุบันเพราะผู้เรียนก็คือมนุษย์และลักษณะนิสัยพื้นฐานของมนุษย์นั้นมักจะเลือกจดจำหรือเลียนแบบพฤติกรรมจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างทั้งจากผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือบุคคลในครอบครัว เช่น ผู้เรียนบางคนจะเลียนแบบพฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอนโดยจะกระทำตัวเป็นผู้นำหรือสอนการบ้านเพื่อน ๆ เพราะเห็นว่าพฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอนเป็นพฤติกรรมที่ดีได้รับการยอมรับผู้เรียนจึงอยากกระทำตาม เป็นต้น
กลยุทธ์การทำงานแนะแนวให้ประสบความสำเร็จ: ขอบข่ายงานแนะแนวในโรงเรียน
นางสาวสุภรณ์  แขตระกูล
ครูชำนาญการพิเศษ
หัวหน้างานแนะแนว  โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

             
              การแนะแนว  หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้รู้จัก ยอมรับและเข้าใจตนเอง    ตลอดจนรู้จัก และเข้าใจผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมให้เขาค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม จริยธรรม   มีทักษะการดำเนินชีวิต รู้จักคิด ตัดสินใจ เลือกวิธีที่จะเผชิญและแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถวางแผนชีวิต วางแผนการศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง  เป็นพลเมืองและพลโลกที่ดี สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมไดอย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์   ดังนั้นเพื่อตอบสนองต่อปรัชญาการแนะแนวดังกล่าว  งานแนะแนว จึงเป็นงานที่มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับงานและบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการป้องกัน ส่งเสริม แก้ไขและช่วยเหลือนักเรียน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพสังคมในปัจจุบันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง  สังคม  การศึกษาและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต กระบวนการคิด และพฤติกรรมของนักเรียนเป็นอย่างมาก    ครูแนะแนวจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการแนะแนวอย่างลึกซึ้งและชัดเจน ตลอดจนมีความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องทั้งงานและบุคคล  หรือกล่าวได้ว่า ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินงาน
              ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การทำงานแนะแนวสามารถประสานเชื่อมโยงกับงานอื่นๆ ในโรงเรียนได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน และช่วยให้การทำงานทำงานแนะแนวประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม  คือการกำหนดขอบข่ายงานแนะแนวให้ชัดเจนและทำความเข้าใจเนื้อแท้ในการทำงานตามขอบข่าย  ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการงานแนะแนว  ทำให้ครูแนะแนวมีทิศทางในการดำเนินงาน และสามารถประสานการทำงานแนะแนวเข้ากับงานและบุคคลต่าง ๆ ในโรงเรียนได้อย่างกลมกลืน โดยการกำหนดขอบข่ายของงานแนะแนวในปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ศาสตร์ของการแนะแนว  กรอบแนวคิดในการพัฒนานักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551   รวมถึงนโยบาย   จุดเน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้วขอบข่ายของงานแนะแนวในปัจจุบันที่มีการบูรณาการงานกับองค์ประกอบต่าง ๆดังกล่าว ควรครอบคลุมงาน 3 ด้าน  คือ การจัดบริการแนะแนวตามศาสตร์ของการแนะแนว  การจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551   และการประสานกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามนโยบายของกระทรวง ศึกษาธิการ  ซึ่งงานแต่ละด้านมีภารกิจตามลักษณะงาน และมีความเชื่อมโยง เกี่ยวพันกันอย่างกลมกลืน ดังแสดงด้วยแผนผังต่อไปนี้

 
 


                                                                                                                                                         











              
              จากแผนผังแสดงขอบข่ายงานแนะแนวดังกล่าว  แสดงภาพความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันอย่างกลมกลืนระหว่างการจัดบริการแนะแนว  การจัดกิจกรรมแนะแนว และการประสานกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งล้วนเป็นภาระงานสำคัญในการพัฒนาและช่วยเหลือนักเรียน   ภารกิจตามลักษณะงาน ทั้ง 3 ด้านอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้
              1. งานบริการแนะแนว  เป็นการจัดบริการตามศาสตร์ของการแนะแนว ซึ่งประกอบด้วยบริการหลัก 5 บริการ  ได้แก่ บริการศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล  บริการสนเทศ บริการจัดวางตัวบุคคล บริการให้การปรึกษา และบริการติดตามผล
              2.  งานจัดกิจกรรมแนะแนว เป็นการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนานักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551   โดยมีขอบข่ายการจัดกิจกรรม  3  ด้าน  คือ  แนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ และแนะแนวส่วนตัวและสังคม  โดยในปัจจุบันมีการกำหนดจำนวนชั่วโมงให้โรงเรียนจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนานักเรียนในแต่ละระดับชั้นไว้อย่างชัดเจนในโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
               3. งานประสานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นการทำงานประสาน เอื้ออำนวย และช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ได้แก่
·       การประสานช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
·       การประสานช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการคัดกรอง
·       การประสานช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการส่งเสริม และพัฒนานักเรียน
·       การประสานช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการช่วยเหลือ แก้ไขนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา  รวมถึงการรับการส่งต่อนักเรียนจากครูที่ปรึกษา

                จากแผนผังแสดงขอบข่ายของงานแนะแนว  จะเห็นว่ามีภาระงานที่ครูแนะแนวต้องทำมากมายหลายเรื่อง   ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาสำหรับบางโรงเรียนที่มีครูแนะแนวไม่เพียงพอต่อภาระงาน   แต่เมื่อพิจารณางานในแต่ละด้านอย่างรอบคอบแล้ว จะพบว่างานทั้ง 3 ด้านมีการประสานเชื่อมโยงกันอย่างกลมกลืน หากดำเนินงานด้วยความเข้าใจแล้ว ยังจะเป็นการช่วยลดภาระงานที่ซับซ้อน ยุ่งยากลงได้
               แนวทางการประสานเชื่อมโยงงานทั้ง 3 อย่างเข้าด้วยกัน ตามแผนผังแสดงขอบข่ายงานแนะแนว เริ่มต้นที่งานบริการแนะแนวทั้ง 5 บริการ        ซึ่งเป็นงานหลักของครูแนะแนวตามศาสตร์ในวิชาชีพการแนะแนว   และมีการเชื่อมโยงไปยังงานจัดกิจกรรมแนะแนวและงานประสานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยสามารถอธิบายภาพการเชื่อมโยงได้ดังต่อไปนี้  
              1.  บริการศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ( Individual Inventory Service )   เป็นบริการที่ช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจนักเรียนมากขึ้นด้วยความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการศึกษาข้อมูลของนักเรียนทุกด้าน ทั้งด้านส่วนตัว ครอบครัว สุขภาพ การเรียน สังคม ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพ ฯลฯ และมีการศึกษาและรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ
            ด้วยลักษณะงานของการจัดบริการศึกษาข้อมูลนักเรียนของครูแนะแนว  เป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนด้วย โดยการช่วยจัดหาเครื่องมือที่ง่ายและสะดวกต่อการศึกษารวบรวมข้อมูลนักเรียนสำหรับครูที่ปรึกษา  เช่น แบบสอบถามข้อมูลประวัติส่วนตัวนักเรียนด้านต่าง ๆ   แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน  แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์นักเรียน   และผู้ปกครอง  เป็นต้น  แนะนำการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาอื่น ๆ    เพื่อการรู้จักนักเรียนเพิ่มเติม เช่น  แบบประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน (SDQ) และประสานแจ้งผลการสำรวจ /การทดสอบทางจิตวิทยาและการแนะแนวให้ครูที่ปรึกษาทราบ   เช่น ผลจากการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ  ผลจากการวัดทางสุขภาพจิต  ผลการสำรวจบุคลิกภาพ  ผลการสำรวจทิศทางความสนใจในอาชีพ

              2.  บริการสนเทศ ( Information Service )    เป็นการจัดบริการข่าวสารข้อมูลด้านการศึกษาด้านอาชีพ  ด้านส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน   เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และการวางแผนการศึกษาต่อและอาชีพ ตลอดจนการดำเนินชีวิตของนักเรียน  โดยจัดนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ป้ายนิเทศ  สื่ออิเลคทรอนิกส์  การจัดนิทรรศการ การเชิญวิทยากร การศึกษาดูงาน เป็นต้น  
                  การจัดบริการสนเทศทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น     จะเป็นประโยชน์เชื่อมโยงกับการจัดกิจกรรมแนะแนวได้อย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน   เพราะการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนานักเรียนก็มีขอบข่าย  3 ด้านนี้เช่นกัน  อีกทั้งยังเป็นประโยชน์เชื่อมโยงไปยังงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน   เนื่องจากสามารถช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการป้องกันส่งเสริมและพัฒนานักเรียนทุกคนได้ 
              3.  บริการให้การปรึกษา ( Counseling Service ) เป็นการจัดกระบวนการที่มีหลักการ ขั้นตอน และจุดมุ่งหมายในการปรึกษาที่ชัดเจนตามหลักการปรึกษาเชิงจิตวิทยา  ช่วยให้นักเรียนรู้จัก เข้าใจ ยอมรับตนเองและปัญหาที่กำลังเผชิญ  ได้เรียนรู้และค้นหาเหตุแห่งปัญหา หาทางจัดการกับปัญหาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง  อีกทั้งจัดการศึกษารายกรณี และประสานการจัดประชุมปรึกษารายกรณี เพื่อการช่วยเหลือนักเรียนอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
              การจัดบริการให้การปรึกษา ควรครอบคลุมด้านการศึกษาต่อ ด้านอาชีพ  ด้านส่วนตัวและสังคม เช่นกัน  โดยมีความเชื่อมโยงกับการจัดกิจกรรมแนะแนว  คือเป็นบริการที่รองรับการให้การช่วยเหลือนักเรียนที่ครูแนะแนวพบว่ามีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือมีเรื่องที่ควรได้รับการแก้ไข ช่วยเหลือหรือพัฒนา จากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว  การแสดงออก หรือชิ้นงานที่นักเรียนทำ    อีกทั้งยังเป็นประโยชน์เชื่อมโยงไปยังงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในส่วนของการให้ความร่วมมือช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหาด้วยตนเอง ตลอดจนประสานการส่งต่อนักเรียนจากครูที่ปรึกษาทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  กรณีที่ยากต่อการช่วยเหลือของครูที่ปรึกษา 
              4.  บริการจัดวางตัวบุคคล  (Placement Service ) เป็นบริการที่จัดเพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ ได้รับการช่วยเหลือ หรือได้รับการฝึกฝนตามแต่กรณี  โดยจัดความช่วยเหลือนักเรียนในรูปแบบวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา  ด้านอาชีพ  ด้านส่วนตัวและสังคม  เช่น  ช่วยเหลือนักเรียนในการเลือกเรียนแผนการเรียนที่เหมาะสม   ได้ร่วมกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความถนัด ความสามารถและความสนใจ  การช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องการทำงานพิเศษ การจัดหาทุนการศึกษาและทุนอาหารกลางวัน  เป็นต้น
                  ด้วยลักษณะของการบริการจัดวางตัวบุคคลดังกล่าว จึงเป็นประโยชน์เชื่อมโยงกับการจัดกิจกรรมแนะแนว  และการประสานช่วยเหลือครูที่ปรึกษาในการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนได้เช่นกัน
              5.  บริการติดตามผล  ( Follow-up Service  ) เป็นบริการที่มีระบบ  ขั้นตอน ในการติดตามประเมินผลคุณภาพการให้บริการ การจัดกิจกรรมแนะแนว และการจัดงาน โครงการต่างๆ ของงานแนะแนวเพื่อนำผลที่ได้ไปแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการวางแผนงานแนะแนวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
              การติดตามผลการจัดบริการแนะแนวด้านต่าง ๆ  จะทำให้ครูแนะแนวมีข้อมูลในการประเมินการดำเนินการช่วยเหลือว่าต้องดำเนินการต่อหรือยุติการช่วยเหลือเมื่อนักเรียนได้พัฒนาตามวัตถุประสงค์แล้ว  และเชื่อมโยงเป็นประโยชน์กับการจัดกิจกรรมแนะแนว ด้วยการนำผลการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรและแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว และการติดตามผลการพัฒนาตนของนักเรียนมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมแนะแนวให้มีประสิทธิภาพในการพัฒนานักเรียนยิ่งขึ้น  ตลอดจนเป็นประโยชน์เชื่อมโยงกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน คือเป็นการช่วยให้ครูที่ปรึกษาได้เห็นผลของการดำเนินงานให้การดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมนักเรียนในความดูแลของตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
              อนึ่ง  เพื่อให้การดำเนินงานตามขอบข่ายงานแนะแนวทั้ง 3 ด้าน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นควรมีการประสานสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นประสานกับเครือข่ายผู้ปกครอง หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายนักเรียนด้วย


No comments:

Post a Comment