ข้อสอบออนไลน์ชุดใหม่ล่าสุด

Monday, March 2, 2015

ภาค ข 1.5 การบริหารจัดการชั้นเรียน

ภาค ข 1.5 การบริหารจัดการชั้นเรียน
ตัวอย่าง

เอกสารหมายเลข 2
 








การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น
















สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา                                                  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ


การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น

            การจัดชั้นเรียนแบบคละชั้นเป็นการบริหารจัดการชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นำมาใช้จัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก  โดยเริ่มในโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น  จำนวน 800 โรง  ในปีการศึกษา  2551
ความหมาย
            การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น  เป็นการดำเนินการจัดชั้นเรียนที่นำนักเรียนต่างชั้น      ต่างกลุ่มอายุและต่างความสามารถมาเรียนรู้พร้อมกันในห้องเดียวโดยมีครูคนเดียวจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ

แนวคิดหลักการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
            การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีนักเรียนต่างชั้นต่างวัย    ต่างความสามารถมาเรียนรู้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน  ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้จึงต้องอาศัยแนวคิดหลักการที่สำคัญ ดังนี้
            1.  เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ร่วมกัน  การมีนักเรียนแต่ละชั้นจำนวนน้อยทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูเหงา ๆ ไม่สนุกสนาน  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มในบางโอกาสไม่สามารถทำได้
            2.  การจัดการเรียนรู้ที่เต็มตามศักยภาพ  ห้องเรียนแบบคละชั้นเป็นห้องเรียนแบบธรรมชาติที่สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตปกติ  และเด็กทุกคนในโรงเรียนก็จะมีครูสอนดูแลได้ตลอดเวลา
            3.  จัดกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการและระดับความสามารถในการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน
            4.  จัดประสบการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้จากผู้อื่น
การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น
            การจัดชั้นเรียนแบบคละชั้น  เป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่นำนักเรียนหลายชั้นมาเรียนรู้พร้อมกัน  เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  สถานศึกษาควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้
                   1.  การจัดครูเข้าสอน
                        การจัดครูเข้าสอนสำหรับชั้นเรียนแบบคละชั้น  ควรคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐาน   ภูมิหลังของครูและเหตุผลในการเลือกครูเข้าสอน  โดยพิจารณาว่าจะจัดครูเข้าสอนอย่างไร  มีเหตุผลใด   จึงจัดเช่นนั้น  มีข้อดี / ข้อเสีย  ของการเลือกครูเข้าสอนนักเรียนแต่ละห้องอย่างไร  โดยพิจารณาถึงความรู้  ทักษะและสมรรถนะ  ตลอดจนเจตคติที่จำเป็นของครูในการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น  ดังนี้


                        1.1  ด้านความรู้
                                ครูผู้สอนในห้องเรียนแบบคละชั้น  ซึ่งมีนักเรียนต่างกลุ่มอายุต่างความสามารถเรียนรวมในห้องเดียวกัน  ครูจึงควรมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
                             1.1.1  เทคนิคการจัดชั้นเรียนแบบคละชั้น  ประกอบด้วย
                                    1)  วิธีการหลากหลายในการจัดชั้นเรียน เช่น  การจัดกลุ่มทั้งชั้น  กลุ่มย่อย  การจับคู่  การทำงานรายบุคคล  และความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ในการจัดกลุ่มย่อย
                                    2)  การจัดกิจวัตรประจำวันด้านการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กคุ้นเคยจนสามารถเรียนรู้ต่อเนื่องได้  แม้ครูไม่อยู่ในชั้น  เช่น  การควบคุมกำกับโดยนักเรียนการใช้สื่อที่มีอยู่เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเป็นกลุ่ม
                                    3)  วิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงตามธรรมชาติของแต่ละรายวิชา
                                    4)  รู้วิธีการสอนที่หลากหลายซึ่งสามารถใช้สอนในชั้นเรียนแบบคละชั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เช่น  การสอนเป็นทีม   การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง   การทำงานกลุ่มย่อย  การสอนเป็น ชั้นรวม   การเรียนรู้โดยกลุ่มเพื่อน   จัดกิจกรรมหมุนเวียนตามฐานอย่างเป็นระบบ
                             1.1.2  ความรู้เรื่องประโยชน์และผลดีของการสอนแบบคละชั้นทั้งด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ
                               1.1.3   การจัดโครงสร้างหลักสูตรที่สมดุล   ครอบคลุมการสอนเป็นรายวัน             รายสัปดาห์   รายภาคเรียน  และรายปี
                             1.1.4  วิธีการจัดพื้นที่ในห้องเรียน  การจัดสื่อค้นคว้าและแหล่งเรียนรู้ทั้งใน  นอกห้องเรียน สำหรับกลุ่มนักเรียนที่คละชั้น
                             1.1.5  วิธีการประเมินผลที่ปฏิบัติได้และมีประสิทธิภาพสามารถประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสำหรับนักเรียนในชั้นเรียนที่สอดคล้องตรงตามสภาพจริงของผู้เรียน
                        1.2  ด้านทักษะและสมรรถนะ
                             ครูผู้สอนในห้องเรียนแบบคละชั้นควรมีทักษะและสมรรถนะที่ดี  ต่อไปนี้
                             1.2.1  ทักษะในการจัดการเรียนชั้นเรียน    โดยครูผู้สอนควรมอบหมายงานให้นักเรียนทุกคนได้ทำงานตามความสามารถและครูมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับนักเรียน
                             1.2.2  ทักษะการวิเคราะห์ระดับความสามารถของเด็กเป็นรายบุคคล
                             1.2.3  มีทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่สนองตอบตามระดับความสามารถของผู้เรียน
                             1.2.4  ทักษะการจัดทำ / หาสื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนแบบคละชั้น
                             1.2.5  ทักษะในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่หลากหลายตรงตามสภาพจริง


                        1.3  ด้านทัศนคติ
                             1.3.1  มีความเชื่อว่าการสอนแบบคละชั้นจะเกิดประโยชน์แก่เด็กทั้งด้านพัฒนาการทางสติปัญญาและการพัฒนาทางสังคมและอารมณ์
                             1.3.2  เชื่อมั่นว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  เรียนรู้ร่วมกันได้
                             1.3.3  ผู้ปกครองเห็นประโยชน์ของการสอนแบบคละชั้นทั้งในด้านวิชาการและด้านอื่นนอกเหนือจากงานวิชาการ
                             1.3.4  การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู
                        1.4  ด้านการเสริมสร้างวินัยเชิงบวก
                                การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบคละชั้น ครูผู้สอนจะต้องสร้างระเบียบวินัยในห้องเรียนก่อน   ตลอดจนกำหนดข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกันและควรเริ่มต้นจากชั้นเล็กที่สุด  เช่น  ชั้นอนุบาลหรือประถมศึกษาปีที่ 1  ที่มาเข้าเรียน  ครูจะแนะนำชีวิตความเป็นอยู่  กิจวัตรประจำวันและการปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน  โดยครูผู้สอนทั้งโรงเรียนต้องร่วมกันฝึกวินัยการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบคละชั้น  เนื่องจากห้องเรียนคละชั้น  ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทุกคนตามระดับความสามารถ  ครูเป็นผู้ดูแล  อำนวยความสะดวกให้คำแนะนำโดยหมุนเวียนไปตามกลุ่ม  ดังนั้น  เด็กจึงต้องมีวินัยในตนเองและรู้จักการเรียนรู้  ค้นคว้า ทั้งจากเอกสารใบงาน  ใบความรู้ สื่อ ICT  ต่างๆ  ตลอดจนเรียนรู้  จากการทำงานร่วมกับนักเรียนคนอื่นหรือนักเรียนในชั้นต่างกันโดยไม่ต้องมีครูอยู่ในกลุ่ม  แนวทางการเสริมสร้างวินัยและข้อตกลงของห้องเรียน  มีดังนี้
     1.4.1  จัดทำระเบียบข้อตกลงโดยนักเรียนมีส่วนร่วม
     1.4.2  มีจำนวนข้อไม่มากนัก
     1.4.3  ใช้ภาษาที่จดจำได้ง่าย และบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิด
     1.4.4  ใช้ภาพประกอบมีสีสัน / เป็นคำกลอน
                             ตัวอย่างข้อตกลงในชั้นเรียน 
                                     ตัวอย่างข้อตกลงในชั้นเรียน ชั้น ป.1         
                                     (1)  ระมัดระวังความปลอดภัย
                                     (2)  มีน้ำใจ
                                     (3)  สุภาพ
                                     ตัวอย่างข้อตกลงในชั้นเรียน ชั้น ป. 2        
                                     (1)  ตั้งใจฟัง
                                     (2)  ทำตามคำแนะนำ
                                     (3)  ทำงานเงียบ ๆ  ไม่รบกวนเพื่อน
                                     (4)  ให้เกียรติเพื่อน  ทั้งวาจาและการกระทำ


                                     ตัวอย่างข้อตกลงในชั้นเรียน ชั้น ป. 3        
                                     (1)  มีน้ำใจและให้เกียรติผู้อื่น
                                     (2)  ตั้งใจฟังขณะที่ผู้อื่นพูด
                                     (3)  รักษามารยาทและระวังความปลอดภัย
                                     (4)  ตั้งใจทำงาน
                                     (5)  สนุกกับการเรียนรู้
                             ข้อตกลงพื้นฐานพฤติกรรมที่คาดหวังในการทำงานกลุ่ม              
                                     (1)  สบสายตากับผู้พูด
                                     (2)  ยกมือเมื่อต้องการถาม  หรือต้องการแสดงความคิดเห็น
                                     (3)  ใจกว้างยอมรับฟังข้อวิพากษ์จากเพื่อน
                                     (4)  มุ่งความสนใจที่การเรียนรู้
             (5)  พูดคุยอภิปรายด้วยเสียงเบา ๆ
             (6)  รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย  และช่วยเหลือเพื่อน
                                     (7)  หมุนเวียนกันพูดทีละคน
             (8)  ชื่นชมแนวคิดของเพื่อน
             (9)  อยู่ร่วมกลุ่มจนเสร็จงาน
             (10)  อภิปรายผลการทำงานกลุ่มเพื่อพัฒนา
                             ข้อตกลงในการทำงานรายบุคคล                                                          
                                     (1)  ยกมือขออนุญาตเมื่อต้องการพูดกับครู หรือเพื่อน
                                     (2)  รักษาความสงบในห้องเรียน
                                     (3)  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
                                     (4)  หลีกเลี่ยงการสนทนา  เรื่องนอกเหนือจากงานที่ได้รับผิดชอบ
                   2.  การจัดชั้นเรียนแบบคละชั้น
                        ชั้นเรียนแบบคละชั้นเป็นห้องเรียนที่มีเด็กต่างชั้น ต่างกลุ่มย่อย  ต่างกลุ่มอายุ  ความสามารถต่างกัน  แต่นำมาจัดการเรียนรู้พร้อมกัน  ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เช่น  การจัดกิจกรรมแบบรวมชั้น  การทำงานกลุ่มย่อย  การทำงานแบบคู่  การทำงานรายบุคคล  การจัดกลุ่มนักเรียนในชั้นเรียนแบบคละครูควรคำนึงถึง  เรื่องต่อไปนี้
                        2.1  พัฒนาการหรือระดับความสามารถของเด็ก  การจัดชั้นเรียนแบบคละชั้นไม่ควรจัดเด็กที่มีความสามารถต่างกันมาก  ๆ  มาเรียนรวมกัน  เช่น ป. 1 กับ ป. 5  ควรจัดเด็กที่มีระดับพัฒนาการในการเรียนรู้ใกล้เคียงกันมาเรียนรวมกัน เช่น ป. 1 รวมกับ ป. 2   ป.2 รวมกับ ป.3   ป. 1 3   ป.4 6  เป็นต้น
                        2.2  ระดับผลการเรียน  ความสนใจ  ความพึงพอใจในกลุ่มเพื่อนหรือภาษาถิ่นที่เด็กพูดในชีวิตประจำวัน
                        2.3  ปริมาณเด็กในชั้นเรียนแบบคละสัดส่วนเด็กต่อครูไม่ควรเกิน 20 คน  เพื่อให้             การดูแลเด็กที่ต่างความสามารถในการเรียนรู้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ  อย่างมีประสิทธิภาพ
                   3.  การจัดบรรยากาศห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
                        การจัดห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น  ควรคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ  2 ประการ  คือ การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน  และการจัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้  ซึ่งมีรายละเอียด   แต่ละองค์ประกอบ ดังนี้
                        3.1  การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน   เป็นการจัดแบ่งพื้นที่ของห้องเรียนสำหรับจัดกิจกรรม  โดยคำนึงถึงลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งที่เป็นกลุ่มใหญ่  กลุ่มย่อย  และการเรียนรู้รายบุคคล  ดังนั้น  ห้องเรียนควรมีมุมหรือศูนย์การจัดกิจกรรม  ดังนี้
                                3.1.1  มุมสงบหรือมุมทำงานเดี่ยว
                                3.1.2  ศูนย์ทดสอบ
                                3.1.3  บริเวณที่ครูใช้สอนทั้งชั้นรวมกัน
                                3.1.4  มุมทำงานแบบจับคู่
                                3.1.5  บริเวณที่จัดไว้สำหรับทำงานกลุ่มย่อย
                                3.1.6  ศูนย์โสตทัศนศึกษาและค้นคว้าเอกสารอ้างอิง
                                3.1.7  บริเวณที่ครูสอนกลุ่มย่อย
                                3.1.8  มีป้ายนิเทศหรือที่จัดแสดงผลงานของนักเรียน
                        3.2  ลักษณะของชั้นเรียน    เป็นการจัดชั้นเรียนในห้องเรียนแบบคละชั้น ให้เอื้อต่อการเรียนรู้จะต้องมีลักษณะพื้นที่ กว้างขวางพอสมควร และมีที่ว่างสำหรับครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้อย่างต่อเนื่องและหลากหลาย    ดังตัวอย่างผังห้องเรียนแบบคละชั้น


ตัวอย่างแผนผังการจัดห้องเรียนแบบคละชั้น   ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 3
กล่องข้อความ: มุมส่งการบ้านกล่องข้อความ: กล่องผลงาน ป.1กล่องข้อความ: กล่องผลงาน ป.2กล่องข้อความ: กล่องผลงาน ป.3กล่องข้อความ: โต๊ะครูกล่องข้อความ: มุมหนังสืออ่านกล่องข้อความ: มุมศิลป์กล่องข้อความ: หนังสืออ่านเพิ่มกล่องข้อความ: มุมวิทย์กล่องข้อความ: กระดานดำ 
































ตัวอย่างแผนผังการจัดห้องเรียนแบบคละชั้น    ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 6
กล่องข้อความ: สื่อและหนังสือประกอบเสริมบทเรียนกล่องข้อความ: วิทยุ – ทีวี - คอมพิวเตอร์กล่องข้อความ: แฟ้มผลงาน
นักเรียนชั้น ป. 4
กล่องข้อความ: แบบฝึกต่าง ๆ กล่องข้อความ: ชั้นวางหนังสือกล่องข้อความ: ชั้นวางหนังสือกล่องข้อความ: แฟ้มผลงาน
นักเรียนชั้น ป. 5
กล่องข้อความ: แฟ้มผลงาน
นักเรียนชั้น ป. 6
.......................
 





                   3.3  จัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
                        การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีหลายชั้นมาเรียนรวมในห้องเรียนเดียวกัน  สิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้  ดังนี้
                        3.3.1  นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
                        3.3.2  สร้างแรงจูงใจเมื่อเด็กเกิดความสนใจ และมีความพึงพอใจในการเรียน 
                        3.3.3  จัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างของนักเรียน ด้านความพร้อม ความถนัด ความสนใจ ความถนัด ความเชื่อ
                        3.3.4  ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้
                        3.3.5  จัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของนักเรียน
                        3.3.6  ห้องเรียนสะอาด จัดเก็บสื่อ วัสดุอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการนำไปใช้
                        3.3.7  นักเรียนมีความรู้สึกปลอดภัยและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
                        3.3.8  มีป้ายนิเทศ หรือที่จัดแสดงผลงานของนักเรียนที่เหมาะสม
                   3.4  การจัดตารางเรียน
                        การจัดตารางเรียนในชั้นเรียนแบบคละชั้น  สามารถจัดให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษาหรือจุดเน้นของสถานศึกษาและสอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้แบบคละชั้น     เช่น  จัดตารางเรียนช่วงเช้าเน้นการเรียนรู้ด้านภาษาและคณิตศาสตร์   ภาคบ่าย จัดตารางเรียนแบบบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้   โดยเน้นทักษะสำคัญที่เป็นทักษะร่วมในการแสวงหาความรู้  เช่น ทักษะการคิด  ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ทักษะการสื่อสาร  เป็นต้น

ตัวอย่าง  ตารางเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 3

ตัวอย่างที่ 1
วัน
08.30 12.00 น.
12.00-
13.00 น.
13.00 15.30 น.
จันทร์
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
รับประทานอาหารกลางวัน
วิทยาศาสตร์
บูรณาการ  สังคมศึกษา
ดนตรี  ศิลปะ
การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี 
สุขศึกษาและพลศึกษา
อังคาร
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
พุธ
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
พฤหัสบดี
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
ศุกร์
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
           

ตัวอย่างที่ 2
เวลา
วัน
08.30 09.55 น.
09.55-10.05
10.05 11.30 น.
11.30 - 12.30 น.
12.30 - 13.30 น.
13.30 – 14.30 น.
14.30 15.30 น.
จันทร์
คณิตศาสตร์
อาหารว่างและเครื่องดื่ม
ภาษาไทย
รับประทานอาหารกลางวัน
วิทยาศาสตร์
บูรณาการ
อังคาร
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
ดนตรี
ครูพระ
บูรณาการ
พุธ
อังกฤษ
วิทยาศาสตร์
บูรณาการ
พละ
พฤหัสบดี
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
ภาษาไทย
อังกฤษ
บูรณาการ
ลูกเสือ
ศุกร์
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
บูรณาการ
ชุมนุม
อบรม


ตัวอย่าง  ตารางเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6

ตัวอย่างที่ 3
เวลา
วัน
09.00 – 10.00 น.
10.00 11.00 น.
11.00 12.00 น.
11.30 - 12.30 น.
13.00 14.00 น.
14.00 15.00 น.
15.00 16.00 น.
จันทร์
ภาษาไทย
รับประทานอาหารกลางวัน
บูรณาการ
แนะแนว
อังคาร
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
อังกฤษ
บูรณาการ
ซ่อมเสริม
พุธ
ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์
บูรณาการ
ซ่อมเสริม
พฤหัสบดี
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์
ลูกเสือ
ซ่อมเสริม
ศุกร์
คณิตศาสตร์
อังกฤษ
นาฏศิลป์
ชุมนุม
แนะแนว

ตัวอย่างที่ 4
เวลา
วัน
08.30 09.55 น.
09.55-10.05
10.05 11.30 น.
11.30 - 12.30 น.
12.30 - 13.30 น.
13.30 – 14.30 น.
14.30 15.30 น.
จันทร์
ภาษาไทย
อาหารว่างและเครื่องดื่ม
คณิตศาสตร์
รับประทานอาหารกลางวัน
อังกฤษ
บูรณาการ
อังคาร
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
ครูพระ
ขนมไทย / อิฐปูทางเท้า / เกษตร
พุธ
วิทยาศาสตร์
ดนตรี
อังกฤษ
วิทยาศาสตร์
พละ
พฤหัสบดี
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
อังกฤษ
การงาน
ลูกเสือ
ศุกร์
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์
ชุมนุม
อบรม


No comments:

Post a Comment