ข้อสอบออนไลน์ชุดใหม่ล่าสุด

Monday, March 2, 2015

ภาค ข 1.4 การพัฒนาผู้เรียน

ภาค ข 1.4 การพัฒนาผู้เรียน  (ตัวอย่าง)

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


1.  ความสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดแนวการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่า              ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันแก้ปัญหาและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กอปรกับ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของบุคคล ทำให้เกิดความยุ่งยาก ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถากรดำเนินชีวิตให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่ามีศักดิ์ศรี และมีความสุข
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัด ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้ผู้เรียนตามกลุ่มสาระที่ 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเอง ตามความถนัด และความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ คือ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม และประเทศชาติ

2.  วิสัยทัศน์
            วิสัยทัศน์ของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นกระบวนการ ด้วยรูปแบบ  วิธีการที่หลากหลาย ให้ได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง มีความหมาย และมีคุณค่าในการพัฒนา           ผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม มุ่งเสริมเจตคติ คุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึ่งประสงค์ ส่งเสริมให้รู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างจิตสำนึกในธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติและดำรงชิวีติได้อย่างมีความสุข







3.  ธรรมชาติและลักษณะวิชา
            กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เน้นการจัดกิจกรรมในลักษณะของการบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ           ที่เกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระให้มีความกว้างขาวงลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ค้นพบและใช้ศักยภาพที่มีในตนอย่างเต็มที่ เลือก ตัดสินใจ ได้อย่างมีเหตุผลเหมาะสมกับตนเอง สามารถวางแผนชีวิตและอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ เน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม และ       จริยธรรม กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมสร้างเสริมประสิทธิภาพทางการเรียน เป็นต้น
4.  คุณภาพของผู้เรียน
                        ·   คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตร
            กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอาร์ม มีกระบวนการคิด มีทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม และมีความสุข มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
                        ·  คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้น
ช่วงชั้นที่ 1  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3
            รู้ความต้องการ จุดเด่นจุดด้อยของตนเองตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาง่ายๆ ของตนเองได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งใกล้ตัวและเลือกใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ช่วงชั้นที่ 2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6
            รู้ความต้องการและความสนใจของตนเอง พัฒนาจุดเด่นและปรับปรุงจุดด้อย รู้และเข้าใจปัญหาที่ซับซ้อน มีการควบคุมอารมณ์และมีการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตัดสินในแก้ปัญหาตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยวีการที่หลากหลายและเลือกใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ช่วงชั้นที่ 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3
            รู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเอง แสวงหาแบบอย่างที่ดีและเหมาะสม รู้และเข้าใจสาเหตุของปัญหาและมีแนวทางในการแก้ปัญหา เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสามารถจัดการกับอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการทำงานในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเอง ครอบครัวโรงเรียนและสังคม สามารถค้นหา       รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายทันสมัย และสามารถเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม




ความหมาย
            กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นกระบวนการด้านรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย ในการพัฒนาผู้เรียนด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม มุ่งส่งเสริมเจตคติคุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สรเงจิตสำนึกในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

เป้าหมาย
            การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งพัฒนาให้บุคคลรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีกระบวนการคิด มีทักษะในการดำเนินชีบิตอย่างเหมาะสม และมีความสุข มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ โดยกำหนดเป้าหมายในการจัด      กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
1.        ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดความรู้ความชำนาญ ทั้งวิชาการดูแลวิชาชีพอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.        ผู้เรียนค้นพบความสนใจ ความถนัด และพัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัวมองเห็นช่องทางในการสร้างงาน อาชีพในอนาคตได้เหมาะสมกับตนเอง
3.        ผู้เรียนเห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่างๆ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพ
4.        ผู้เรียนพัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมในการดำรงชีวิต และสร้างศีลธรรม              จริยธรรม
5.        ผู้เรียนมีจิตสำนึกและทำประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ










หลักการจัด
            กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีหลักการจัด ดังนี้
1.       มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติทีชัดเจนเป็นรูปแบบ
2.       จัดให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียน
3.       บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริง ให้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.       ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์จิตนาการ ที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง
5.       จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม
6.       มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถานศึกษา
7.       ผˆเรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา ถือเป็นหน้าที่และงานประจำโดยคำนึงถึงความปลอดภัย
8.       ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจักกิจกรรม
9.       มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์การประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน


แนวการจัด
            สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม โดยคำนึงถึงแนวการจัดดังต่อไปนี้
1.       การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การบูรณาการโครงการ องค์ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น
2.       จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ และความสามารถความต้องการของผู้เรียนและชุมชน เช่น ชมรมทางวิชาการต่างๆ  เป็นต้น
3.       จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น กิจกรรม             ลูกเสือ  เนตรนารี  เป็นต้น
4.       จัดกิจกรรมประเภทบริการต่างๆ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม






โครงสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและเวลาเรียน
            1.  กิจกรรมแนะแนว  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเสริมสร้างทักษะชีวิตวุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้เชิงปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งผู้สอนทุกคนต้องทำ หน้าที่แนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิตการศึกษาต่อและพัฒนาตนสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
            2.  กิจกรรมนักเรียน  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ที่ปฏิบัติด้วยตนเอง ตั้งแต่ศึกษาวิเคราะห์                วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น                   ลูกเสือ เนตรนารี โครงงาน ฯลฯ

การจัดเวลาเรียน
            ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตลอดปีการศึกษา ต้องมีเวลาเรียนประมาณ 20/ของ เวลา เรียนทั้งหมด บางกิจกรรมสามารถดำเนินการนอกเวลาเรียนก็ได้ โรงเรียนขจรทรัพย์อำรุง กำหนดเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดังนี้
กิจกรรม
ช่วงชั้นป.1-3
ช่วงชั้น ป.4-6
ช่วงชั้น ม.1-3
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
1. แนะแนว
40
40
40
40
40
40
40
40
40
  - ทักษะการรู้แสวงหาและใช้ข้อมูล









  - ทักษะการมีวิสัยทัศน์









  - ทักษะการสื่อสารและสร้างความ
     สัมพันธ์กับผู้อื่น









  -  ทักษะการคิด ตัดสินใจ และแก้
      ปัญหา









   - ทักษะการปรับตัว









   - ทักษะการทำงานเป็นทีม









   - ทักษะการวางแผน และการ                    
      จัดการ









   - ทักษะการกล้าเสี่ยง









2.  กิจกรรมนักเรียน









    - ลูกเสือ เนตรนารี
40
40
40
40
40
40
40
40
40
    - ชุมนุม / โครงสร้าง
40
40
40
40
40
40
40
40
40
รวมทั้งสิ้น
120
120
120
120
120
120
120
120
120
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1.       กิจกรรมแนะแนว
2.       กิจกรรมนักเรียน
-         ลูกเสือ เนตรนารี
-         กิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ
-         กิจกรรมอื่น ๆ

กิจกรรมแนะแนว ประกอบด้วย
v  กลุ่มกิจกรรมรู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
v  กลุ่มกิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต
v  กลุ่มกิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา
v  กลุ่มกิจกรรมการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ

กลุ่มกิจกรรมรู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงขั้น
ป. 1 3
ป. 4 6
ม. 1 3
- รับรู้ความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
- รู้จุดเด่นด้อยของตนเอง
- รู้และเข้าใจความสนใจความ
ถนัดความสามารถด้านการเรียน 
และการงาน
- ภูมิใจตนเองและชื่นชมผู้อื่น
- รู้และเข้าใจปัญหาของตนเอง
- รับรู้และเข้าใจความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
- พัฒนาจุดเด่นปรับปรุงจุดด้อยของตนเอง
- รู้และเข้าใจความสนใจความถนัดด้านการเรียนและอาชีพ
- ภูมิใจใจตนเองและชื่นชมผู้อื่น
- รับรู้และเข้าใจปัญหาซับซ้อน
- รับรู้และเข้าใจความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
- แสวงหาแบบอย่างที่ดีและเหมาะสมกับตนเอง
- รู้และเข้าใจความสนใจ ความถนัดด้านการเรียน อาชีพและบุคลิกภาพของตนเอง
- รักและนับถือตนเองและผู้อื่น
- รู้และเข้าใจสาเหตุของปัญหาของตนเอง และมีแนวทางในการปัญหา





กลุ่มกิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต

มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
ป. 1 - 3
ป. 4 - 6
ม. 1 - 3
- รับรู้ความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
- มีสามารถในการสื่อความรู้สึกและความต้องการของตนเองให้     ผู้อื่นรับรู้
- แสดงออกทางอารมณ์เหมาะสมกับวัย
- เป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี
- มีความสามารถในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- เข้าใจแลยอมรับความต้องการ และความรู้สึกของผู้อื่น
- มีสามารถในการสื่อสารความคิดความรู้สึกให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามสถานการณ์
- มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์และแสดงออกได้เหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
- ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
- มีความสามารถในการทำงานตามบทบาท หน้าที่ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
- มีสามารถในการสื่อสารความคิดความรู้สึกให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
- มีความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
- ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
- มีความสามารถในการทำงานตามบทบาท ในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข












กลุ่มกิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ป. 1 - 3
ป. 4 - 6
ม. 1 3
- มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาง่าย ๆ ของตนเอง
- มีความสามารถในการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาของตนเองและร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับครอบครัวและโรงเรียน
- มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาของตนเองและร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว โรงเรียนและสังคม





กลุ่มกิจกรรมการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ป. 1 3
ป. 4 - 6
ม. 1 3
- มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่อยู่ใกล้ตัว
- มีความสามารถเลือกและใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- มีความสามารถเลือกและใช้        ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- มีความสามารถในด้านค้นหารวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลเฉพาะด้านจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายทันสมัย
- มีความสามารถในการเลือกสรรและใช้ข้อมูลสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองสังคม








การประเมินผล
            การประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่ง สำหรับการผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร ผู้เรียนต้องเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดจน ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดตามแนวประเมิน ดังนี้
1.       ประเมินการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริงให้ได้ผลการประเมินที่ถูกต้อง ครบถ้วน
2.       ครูที่ปรึกษากิจกรรม ผู้เรียนและผู้ปกครอง จะมีบทบาทในการประเมินดังนี้
2.1   ครูที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
Ø ต้องดูแลและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
Ø ต้องรายงานเวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
Ø ต้องศึกษาติดตาม และพัฒนาผู้เรียนในกรณีผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม
2.2   ผู้เรียน
Ø ปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
Ø มีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 80% หรือตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด พร้อมทั้งแสดงการปฏิบัติกิจกรรม และพัฒนาการด้านต่างๆ
Ø ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ ต้องปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูที่ปรึกษากิจกรรมอบรม หรือให้ความเห็นชอบตามที่ผู้เรียนเสนอ
Ø ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกิจกรรม
2.3   ผู้ปกครอง
Ø ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการติดตามพัฒนาการของผู้เรียนกับสถานศึกษาเป็นระยะ ๆ
Ø ผู้ปกครองบันทึกความเห็น สรุปพัฒนาการและการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน
3.       เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3.1   ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 80% หรือตามที่สถานศึกษากำหนด
3.2   ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์ที่สำคัญของแต่ละกิจกรรม


 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
                ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 293/2551   เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 กำหนดให้สถานศึกษา จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
                หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551
                การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่
               ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะ พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)  เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน  มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำรงชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐาน ในการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อ
                ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้น การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทักษะ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ กรอบภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551












รูปห้าเหลี่ยม:                 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด   8  กลุ่มสาระการเรียนรู้                                                            
                     1. ภาษาไทย      2. คณิตศาสตร์    3. วิทยาศาสตร์                              
4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   5. สุขศึกษาและพลศึกษา     
    6.  ศิลปะ      7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี       8. ภาษาต่างประเทศ
สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: คุณภาพของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นจัดให้ผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้ผู้เรียนปีละ 360 ชั่วโมงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน(ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุม ชมรม) และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมฯ เป็นกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนที่จะทำเพื่อบุคคลอื่น สังคม ชุมชน เพื่อพัฒนาจิตสาธารณ
ระดับประถมศึกษา รวม 6 ปี ให้ได้จำนวน 60 ชั่วโมง , ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(3 ปี) จำนวน 45 ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(3 ปี) จำนวน 60 ชั่วโมง
                จำนวนชั่วโมงของกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมฯ ที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางฯ สถานศึกษาอาจจะจัดเป็นกิจกรรมสอดแทรกในรายวิชาต่าง ๆ(วิชาพื้นฐาน และวิชาเพิ่มเติม) หรือในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือจัดนอกเวลาก็ได้
โดยต้องมีหลักฐานการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสังคมของผู้เรียน ครบจำนวนชั่วโมงตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด ซึ่งสถานศึกษาจะจัดให้มีทุกปี หรือทุกภาคเรียน หรือเป็นบางปี บางภาคเรียน ก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนชั่วโมงครบตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด
               
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
            กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม  จริยธรรม  มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม  สามารถจัดการตนเอง ได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 
            โรงเรียนได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยแบ่งออกเป็น 3  ลักษณะ  ดังนี้
1. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพสามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว  40 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา (ระดับประถมศึกษา)
                        แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว
1.           สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจและธรรมชาติของผู้เรียน
2.             ศึกษาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนที่ได้จากการสำรวจ
3.             กำหนดสัดส่วนสาระของกิจกรรมในแต่ละด้าน
4.             กำหนดแผนการปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว
5.             การจัดทำรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม
6.             ปฏิบัติตามแผน วัดและประเมินผล และสรุปรายงาน
      2. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามความถนัด และความสนใจโดยเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ไม่เห็นแก่ตัว มีระเบียบวินัย มีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน รู้จักการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปัน เอื้ออาทรและสมานฉันท์
                2.1 กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นกิจกรรมที่มุ่งปลูกฝังระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์เพื่อการอยู่ร่วมกันให้รู้จักการเสียสละและบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมและวิถีชีวิตในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการจัดกิจกรรมลุกเสือ เนตรนารี ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติรวมทั้งให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้
1.       ลูกเสือสำรอง                      ชั้นประถมศึกษาปีที่1-3
2.       ลูกเสือสามัญ                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด  40 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา (ระดับประถมศึกษา)
แนวการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
   1. คำปฏิญาณและกฎ  ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่ลูกเสือทุกคนให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติตามกฎ ของลูกเสือ กฎของลูกเสือมีไว้ให้ลูกเสือเป็นหลักในการปฏิบัติ ไม่ได้ ห้าม ทำ หรือ บังคับให้ ทำ แต่ถ้า ทำ ก็จะทำให้เกิดผลดีแก่ตัวเอง เป็นคนดี ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติเชื่อถือได้
2.         เรียนรู้จากการกระทำ เป็นการพัฒนาส่วนบุคคล ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของผลงานอยู่ที่การกระทำของตนเอง ทำให้มีความรู้ที่ชัดเจน และสามารถแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเองได้ และท้าทายความสามารถของตนเอง
3.         ระบบหมู่ เป็นรากฐานอันแท้จริงของการลูกเสือ เป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน การยอมรับซึ่งกันและกัน การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งเป็นการเรียนรู้ การใช้ประชาธิปไตยเบื้องต้น
4.         การใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน  ฝึกความเป็นหนึ่งเดียวในการเป็นสมาชิกลูกเสือ เนตรนารี ด้วยการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ได้แก่ เครื่องแบบ เครื่องหมาย การทำความเคารพ รหัส คำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ คำขวัญ ธง เป็นต้น วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักและภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือแห่งโลก ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วโลกและเป็นองค์กรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด
5.         การศึกษาธรรมชาติ คือ สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในกิจกรรมลูกเสือ ธรรมชาติอันโปร่งใสตามชนบท ป่าเขา ป่าละเมาะ และพุ่มไม้ เป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งในการทำกิจกรรมกับธรรมชาติ การปีนเขา ตั้งค่ายพักแรมในสุดสัปดาห์ หรือตามวาระของการอยู่ค่ายพักแรมตามกฎระเบียบ เป็นที่เสน่หาแก่เด็กทุกคน ถ้าขาดสิ่งนี้แล้วก็ไม่เรียกว่าใช้ชีวิตแบบลูกเสือ
6.         ความก้าวหน้าในการเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมต่างๆที่จัดให้เด็กทำ ต้องให้มีความก้าวหน้าและดึงดูดใจ สร้างให้เกิดความกระตือรือร้น อยากที่จะทำและวัตถุประสงค์ในการจัดแต่ละอย่างให้สัมพันธ์กับความหลากหลายในการพัฒนาตนเอง เกมการเล่นที่สนุกสนาน การแข่งขันกันก็เป็นสิ่งดึงดูดใจและเป็นการจูงใจที่ดี
7.         การสนับสนุนโดยผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่ชี้แนะหนทางที่ถูกต้องให้แก่เด็กเพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจในการที่จะตัดสินใจกระทำสิ่งใดลงไปทั้งคู่มีความต้องการซึ่งกันและกันเด็กต้องการให้ผู้ใหญ่ช่วยชี้นำ ผู้ใหญ่เองก็ต้องการนำพาให้ไปสู่หนทางที่ดี ให้ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและดีที่สุด จึงเป็นการร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย
        กิจกรรมชุมนุม  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนรวมกลุ่มกันจัดขึ้นตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน เพื่อเติมเต็มความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติเพื่อพัฒนาตนเองตามศักยภาพนักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม  40  ชั่วโมงต่อปีการศึกษา (ระดับประถมศึกษา)
                      แนวการจัดกิจกรรมชุมนุม
1.       สำรวจความสนใจของผู้เรียนในการเลือกเข้าร่วมชุมนุม ชมรม
2.       ให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมได้หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน
3.       มีครูที่ปรึกษา ชุมนุม ชมรม
4.       แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่กิจกรรม
5.       ครูที่ปรึกษากิจกรรมประเมินตามหลักเกณฑ์การประเมินผล
 ( หมายเหตุ  สามารถระบุชื่อกิจกรรมชุมนุมที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนเลือกเรียน หรือชื่อกิจกรรมชุมนุมที่ โรงเรียนจัดให้มี)
                  ๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในลักษณะอาสาสมัครเพื่อช่วย    ขัดเกลาจิตใจของผู้เรียนให้มีความเมตตากรุณา มีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะเพื่อช่วยสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  10 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา (ระดับประถมศึกษา) 
                      แนวการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  
1.       จัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการใน 8 กลุ่มสาระ
2.       จัดกิจกรรมลักษณะโครงการ โครงงาน หรือกิจกรรม
3.       จัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรอื่น




แนวทางการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมี 2  แนวทาง คือ
1.       การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม มีแนวปฏิบัติดังนี้
1.1     ตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
1.2     ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม
1.3     ผู้เรียนที่มีเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม มีการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดเป็นผู้ผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม และนำผลการประเมิน ไปบันทึกในระเบียนแสดงผลการเรียน
1.4     ผู้เรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านในเกณฑ์เวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครู หรือผู้รับผิดชอบต้องดำเนินการซ่อมเสริมและประเมินจนผ่าน ทั้งนี้ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นในปีการศึกษานั้นๆ ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา
2.       การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการตัดสิน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อตัดสินเลื่อนชั้นและจบการศึกษาเป็นการประเมินการผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค เพื่อสรุปผลการผ่านในแต่ละกิจกรรม สรุปผลรวมเพื่อสรุปผลการผ่านในแต่ละกิจกรรม สรุปผลรวมเพื่อเลื่อนชั้นและประมวลผลรวมในปีสุดท้ายเพื่อการจบแต่ละระดับการศึกษา โดยการดำเนินการดังกล่าวมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
2.1   กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนทุกคนตลอดระดับการศึกษา
2.2   ผู้รับผิดชอบสรุปและตัดสินผลการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด เกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนต้องผ่านกิจกรรม 3   กิจกรรมสำคัญดังนี้
      2.1.1 กิจกรรมแนะแนว
      2.2.2 กิจกรรมนักเรียน ได้แก่ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาการทหาร และกิจกรรมชุมนุม ชมรม
      2.2.3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
2.3   ผู้รับผิดชอบเสนอผลการประเมินต่อคณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ความเห็นชอบ
2.4   ผู้รับผิดชอบเสนอผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาเพื่ออนุมัติผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษา
เกณฑ์การตัดสิน
1.       กำหนดเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้  2 ระดับ คือ ผ่าน และ ไม่ผ่าน
2.       เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินรายกิจกรรม
ผ่าน   หมายถึง  ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมครบตามเกณฑ์ ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
ไม่ผ่าน  หมายถึง  ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ ไม่ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมหรือมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
3.       เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายปี/รายภาค
ผ่าน   หมายถึง  ผู้เรียนมีผลการประเมินระดับ ผ่าน ในกิจกรรมสำคัญทั้ง 3  กิจกรรม คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
       ไม่ผ่าน หมายถึง  ผู้เรียนมีผลการประเมินระดับ ไม่ผ่าน ในกิจกรรมสำคัญใดกิจกรรมหนึ่ง ใน 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
4.       เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อจบระดับการศึกษา
ผ่าน  หมายถึง  ผู้เรียนมีผลการประเมินระดับ ผ่าน ทุกชั้นปีในระดับการศึกษา นั้น
ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีผลการประเมินระดับ ไม่ผ่าน บางชั้นปีในระดับการศึกษานั้น

 ( หมายเหตุ  การประเมินผลอาจเขียนแยกการประเมินผลแต่ละกิจกรรม หรือเขียนรวมในภาพรวมของ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็ได้ )


......................................................................................................


เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2551.





 






 























No comments:

Post a Comment